วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 16

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น.

          เนื้อหาที่เรียน
               การนำเสนอสื่อการสอนคณิตศาสตร์และสรุปผลการสังเกตพฤติกรรมการเล่นของเด็กในการสอนกิจกรรม
มีดังนี้  กลุ่มที่ 1


นางสาววสุธิดา  คชชา และนางสาววิภาพร  จิตอาคะ ได้นำเสนอเนื้อหาในรูปแบบพาเวอร์พอยท์และสรุปพฤติกรรมเด็กได้อย่างสมบูรณ์ คำแนะนำเพิ่มการใช้เครื่องมือวัดที่คงที่ 


นางสาวสุภาวดี  ปานสุวรรณ นำเสนอสื่อเรขาคณิตและได้สรุปเนื้อหาจากการอธิบาย และคลิปวิดีโอ      ได้รับคำแนะนำในการบันทึกการสังเกตเด็ก ปรับแก้การนำเสนอ


นางสาวปวีณา  พันธ์กุล นำเสนอสื่อในรูปแบบคลิปวิดีโอ มีการสาธิตการเล่นสื่อแบบอนุกรม ได้ฟังคำแนะนำจากอาจารย์ในการปรับแก้สื่อ และวิธีการเล่น  คือการเพิ่มโจทย์ในการกำหนดให้เด็กเล่นอนุกรม โดยใช้สีเป็นตัวแบบ เช่น แดง ______    ______  เหลือง แดง  แดง เขียว เหลือง แดง  แดงเขียว เหลือง   และใช้คำถามว่า ช่องที่ว่างจะเป็นสีอะไร  เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิด


นางสาวณัฐชา  บุญทอง  และนางสาวอรอุมา  ศรีท้วม นำเสนอสื่อเรื่อง เกม บวก ลบ มหาสนุก
ซึ่งได้อธิบายวัสดุอุปกรณ์  ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนการเล่น  และให้ชมคลิปวิดีโอ ปรับแก้ด้านการนำเสนอ ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ในวิธีการสอน การอธิบายที่ถูกต้องชัดเจน


นางสาวกิ่งแก้ว  ทนนำ นำเสนอสื่อเดี่ยว เรื่องเครื่องชั่ง ในการนำเสนอมีเนื้อหาสมบูรณ์ ครบถ้วน มีภาพการนำเสนอที่น่าสนใจ และการพูดที่ชัดเจน ฟังเข้าใจตามลำดับ


นางสาวสุภาภรณ์  วัดจัง และนางสาวสุจิณณา  พาพันธ์  นำเสนอสื่อรูปทรงยืดหยุ่น มีคลิปวิดีโอ แต่ยังขาดเนื้อหาใจความที่สมบูรณ์ อาจารย์ให้คำแนะนำในการถ่ายคลิป การนำเสนอและการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็ก


นางสาวสิริวดี  นุเรศรัมย์ นำเสนอสื่อเรื่องตกปลาได้เลข ในการนำเสนอมีคลิปวิดีโอ การนำเสนอที่ชัดเจน มีวิธีการสอนเด็กที่น่าสนใจ เด็กๆอยู่นิ่งไม่วุ่นวาย  อาจารย์ให้คำแนะนำในด้านการปรับบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็ก


นางสาวอุไรพร  พวกดี และนางสาวชานิศา  หุ้ยทั่น นำเสนอสื่อการสอนเรื่องขนาดของหลอด การนำเสนอเนื้อหาไม่ชัดเจน ปรับแก้วิธีการเล่นและการอธิบายเนื้อหา


นางสาววิจิตรา  ปาคำ นำเสนอสื่อการสอนเรื่องรูปเรขาคณิตและสี  มีการอธิบายวิธีการและการสังเกตเด็กจากคลิปวิดีโอ


นางสาวสุพรรณิการ์  สุขเจริญ  และนางสาวอภิชญา  โมคมูล นำเสนอสื่อการสอนเรื่องจับคู่สีรูปภาพ       มีเนื้อหาที่ชัดเจน  คำแนะนำในการปรับแก้วิธีการเล่นและการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็ก

(เนื่องจากวันนี้ไม่ได้ไปเรียน จึงได้ขอดูจาก นางสาวณัฐชา  บุญทอง )

สรุปความรู้ที่ได้จากการฟัง
          ➪  การทำงานสอดคล้องกับสมอง  สมองรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สอดคล้องสัมพันธ์กันเป็นความรู้ใหม่
การวัดและประเมินเด็ก มี 2 อย่างคือ
1.การสังเกต  เครื่องมือคือแบบบันทึก  มี 2 แบบ 1. ใช้คำถามปลายเปิด และจดบันทึก
                                                         2. เช็คลิส  ตามหัวข้อ
2. การสนทนา  สนทนากับเด็กเพื่อทราบพฤติกรรม  ใช้การดูผลงาน










งานที่ได้รับมอบหมาย

          1. การสร้างรูปทรงและรูปเรขาคณิต


















          2. กิจกรรมคณิตศาสตร์ที่ผู้ปกครองสามารถเล่นกับลูกได้



           ทักษะที่ได้รับ
             - การเตรียมความพร้อมเป็นสิ่งที่ดี เพราะถ้าเราพร้อมและมั่นใจยังไงงานที่ออกมาก็ต้องดี

           การนำมาประยุกต์ใช้
             - การเขียนบันทึกสังเกตการณ์ควรเขียนแบบที่เห็นจริงและไม่ควรเอาความคิดเห็นส่วนตัวมาเขียนลงในแบบบันทึก
               บรรยากาศในห้องเรีย
           ประเมินวิธีการสอน    
             อาจารย์ให้ความสำคัญกับวิธีการสอนมากที่สุดเพราะจะเป็นตัวสำคัญในการนำไปใช้สอนเด็ก และในการนำเสนอของนักศึกษานั้นการพูดควรมีความชัดเจนไม่กำกวม มีการนำเสนอที่น่าสนใจ และเข้าใจ อาจารย์มีทั้งชม และติให้นักศึกษานำไปปรับใช้ แต่ก็ล้วนเป็นคำแนะนำที่ดีของนักศึกษา

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

การบันทีกครั้งที่ 15


วันพุธที่ 25  เมษายน พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น.


          เนื้อหาที่เรียน


             กิจกรรมที่ 1
               เพื่อนออกมานำเสนอวิจัย คือนางสาวรัติยากร   ศาลาฤทธิ์  นำเสนอวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้ศิลปะสร้างสรรค์    
รูปแบบวิจัย
1. กระตุ้นการเรียนรู้
2. กรองสู่มโนทัศน์
3. พัฒนาด้วยศิลปะ
4. สาระที่เรียนรู้
         

             กิจกรรมที่ 2
               นำเสนอสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ "ถาดรองไข่" ของกลุ่มเรียน 121 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 

เกมภูเขาไฟระเบิด


เกมยืดหยุ่นให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต


ตราชั่ง (แกนกระดาษทิชชู่)


เกมจับคู่หรรษา


เกมตกปลาพาบิงโก


เกมบวกลบเลขมหาสนุก


เกมเรขาคณิตพาเพลิน


 ภาพรวมกิจกรรมทั้งหมด



            


          ทักษะที่ได้รับ
               การทำสื่อควรคำนึงถึง ประหยัด ปลอดภัย และมีประโยชน์  และต้องสอดคล้องกับหลักทางคณิตศาสตร์ที่จะสอนเด็ก

           การนำมาประยุกต์ใช้
                - การสอนเรื่องความน่าจะเป็น
                - การสอนเรื่องรูปทรงเราขาคณิต

          บรรยากาศในห้องเรียน
               วันนี้มีแต่รอยยิ้ม สนุกกับการนำเสนองาน และงานของเพื่อนๆทุกคนมีความหลากหลายมาก สามารถนำไปต่อยอดได้

          ประเมินวิธีการสอน
               - ผลงาน ชิ้นงาน
               - การถามตอบ

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 14

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30  น.

          เนื้อหาที่เรียน

             กิจกรรมที่ 1

               วันนี้เพื่อนทุกคนนำสื่อที่ทำจากถาดไข่มาส่งให้อาจารย์จ๋าตรวจสอบความคืบหน้าของงานและแต่ละกลุ่มก็จะมีการแก้งานที่แตกต่างไป



          ต่อมาพูดถึงเรื่องการคิดวิเคราะห์ ว่าจะต้องมีดังนี้ 
1. ปัญหา
2.ข้อย่อย (ประเด็น)
3. ภาพ (มองง่าย)
4. สร้างประเด็น / สร้างปัญหา
5. ใช้ภาษาสื่อสาร
          หาค่าโดย
1. การสังเกต  ให้คะแนน
2. การสนทนา  แบบบันทึก
3. การประเมิน   ดูจากผลงาน ชิ้นงาน สะท้อนพัฒนาการของเด็ก


              กิจกรรมที่ 2

               ผึกการร้องเพลงที่เป็นตัวช่วยให้เด็กปฏิบัติตาม
1. เพลงสวัสดียามเช้า  (สัมพันธ์เรื่องเวลา และกิจวัตรประจำวัน)
2. เพลงสวัสดีคุณครู   (สัมพันธ์เรื่องกิจวัตรประจำวัน)
3. หนึ่งปีมี 12 เดือน   (สัมพันธ์กับวัน เดือน ปี )
4. เพลงเข้าแถว   (สัมพันธ์กับเรื่องระยะความห่างในการเข้าแถว)
5. เพลงจัดแถว   (สัมพันธ์เรื่องความน่าจะเป็น)
6. เพลงซ้าย - ขวา   (สัมพันธ์เรื่องทิศทาง)





              กิจกรรมที่ 3

               แจกกระดาษมาให้คนละ 1 แผ่น พร้อมกับคำถามดังนี้
1. เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
2. การอนุรักษ์ หมายถึง
3. จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กผ่านขั้นอนุรักษ์
4. สาระคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
5. สาระที่ 6 มีมาตรฐาน หรือไม่
6. คุณภาพของเด็กที่จบไปต้องมีอะไรบ้าง




คำถาม - คำตอบ


          ทักษะที่ได้รับ
               - ทักษะการคิดวิเคราะห์
               - การทำงานร่วมกับผู้อื่น

          การนำมาประยุกต์ใช้
               - เพลงต่างๆที่อาจารย์สอนมา เราอาจจะเปลี่ยนเนื้อเพลง เพื่อให้เด็กโต้แย้ง เกิดความไว้วางใจ เกิดการพูด การกล้าแสดงออก  เกิดความมั่นใจ  การสร้างสรรค์  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

          บรรยากาศในห้องเรียน
               เพื่อนๆ ต่างตั้งใจเรียน และพยายามทำสื่อให้ออกมามีคอนเซปตรงกับที่อาจารย์ต้องการ

          ประเมินวิธีการสอน
               วันนี้เป็นการสอบเพื่อทบทวนความรู้ ดังนั้นความรู้ที่เราเรียนมาเข้าใจหรือไม่เข้าใจจะขึ้นอยู่กับเรา