วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
เนื้อหาที่เรียน
วันนี้เป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาเมื่อคาบที่ผ่านมา คือเรื่องมาตรฐานคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ อาจารย์ได้อธิบายทวนอีกครั้งเพื่อความเข้าใจและหลังจากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ วิจัย และตัวอย่างการสอน
คนแรก นางสาวชาณิศา หุ้ยทั่น นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ ปริญญานิพนธ์ ของ กมลรัฒน์ กมลสุทธิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาการศึกษาปฐมวัย ปี 2555
ความมุ่งหมาย : เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลักการทดลองสูงกว่าการทดลอง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ : อายุระหว่าง 4-5 ปีซึ่งศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพมหานคร จำนวน 12 คน
สรุปผลการวิจัย : ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิคศาสตร์ ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและรายด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การเรียงลำดับและการนับ
คนต่อมา นางสาวรัติยากร ศาลาฤทธิ์ นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ โดย กาญจนา ทับผดุง และ สุภาวิณี สัตยาภาณ์
หน่วยแผนการสอนจะเป็นดังนี้
1. บ้านน่าอยู่ จำนวน 5 ชั่วโมง
2. สัตว์น่ารู้ จำนวน 5 ชั่วโมง
3. อาชีพที่ควรรู้จัก จำนวน 5 ชั่วโมง
4. ฤดูกาล จำนวน 5 ชั่วโมง
ตนต่อมา นางสาววิจิตรา ปาคำ นำเสนอตัวอย่างการสอนเรื่อง กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวเด็ก โดยครูอัมพรรณี สาลีวรรณ์ เป็นการสอนกิจกรรมหลักทั้ง 6 อย่าง เกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติรอบตัวเด็ก สอดคล้องกับคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับ การเปรียบเทียบ การจำแนก การเรียงลำดับ เป็นต้น
คนสุดท้าย นางสาวปรางทอง สุริวงษ์ นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร โดย ศุภนันท์ พลายแดง วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปี 2553
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ : เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 จำนวน 30 คน
สรุป : การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสามารถส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุก
ๆ ด้านให้แก่เด็กปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับ
เคลฟสเต็ด (Klefstad 1995 : 33 อ้างถึงใน วลัย สาโดด, 2549 : 42)
ได้กล่าวถึง ประโยชน์ของกิจกรรมประกอบอาหารไว้ว่า
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ด้านการวัด การกะปริมาณ
การเปรียบเทียบมากกว่า – น้อยกว่า เต็ม – ว่างเปล่า และจำนวนนับเนื่องมาจากเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
เพียเจต์ (piaget, 1896 อ้างถึงใน
หรรษา นิลวิเชียร,
2535 :
41 – 42 )
กล่าวว่า การจัดประสบการณ์ตรงโดยให้เด็กมีอิสระในการคิด การแสดงออก จะทำให้เด็กเข้าใจได้เร็วขึ้น
ทักษะที่ได้รับ
ความรู้ใหม่ๆที่เพื่อนนำมาพูดในวันนี้ เป็นความรู้ใหม่ที่เราควรจำ และสามารถนำมาใช้ในการสอนได้จริง
การนำมาประยุกต์ใช้
- การสอนเด็ก
- นำมาประยุกต์ใช้ในการสอน / ในชีวิตจริง
บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้นักศึกษาติดธุระเรื่อง กนศ. จำนวนมากจึงทำให้ห้องเรียนมีจำนวนคนที่น้อย และบรรยากาศจึงเป็นไปอย่างราบรื่น เงียบมาก
ประเมินวิธีการสอน
- การตอบคำถาม
- การถามตอบ/รายบุคคล
- ผลงาน
คุณธรรมจริยธรรม
- การตั้งใจเรียน
- การร่วมมือกันในชั้นเรียน
- เข้าเรียนตรงเวลา