วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

สรุปผลงานการวิจัย

สรุปวิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร



สรุปวิจัย
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร

ชื่อวิทยานิพนธ์ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
ผู้วิจัย นางศุภนันท์ พลายแดง

สาขา การศึกษาปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

วิธีดำเนินการวิจัย
โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี
ที่กา ลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปี ที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 ของโรงเรียนมิตรภาพ
ที่ 34 อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จา นวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกจากเด็กที่มี
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่างจากแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร จำนวน 18 แผน
2. แบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ


แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้ อาหารดีมีประโยชน์ เรื่องผัดผักรวมมิตร

สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 1 สอนวัน จันทร์ ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 30 นาที
สาระสาคัญ
ผักและผลไม้ ถือเป็นอาหารที่มีประโยชน์โดยให้ทั้งวิตามินและแร่ธาตแก่ร่างกาย
 และถือเป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ที่ร่างกายต้องการ ผักและผลไม้แต่ละชนิดมีประโยชน์
ที่แตกต่างกันและมีลักษณะ รูปทรง สี ที่แตกต่างกันด้วย ทั้งนี้จึงสามารถนาผักและผลไม้
มาจัดกิจกรรมประกอบอาหารเพื่อเพิ่มความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเปรียบเทียบ
ให้แก่เด็ก และจะพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของผักและผลไม้ได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้
- การปฏิบัติตนในการประกอบอาหาร
2. กิจกรรมสำคัญ
- การประกอบอาหารและการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
เนื้อหา
1. ประโยชน์ของผัก ความแตกต่างของผักแต่ละชนิด เช่น รูปร่าง ขนาด และสี
2. ข้อตกลงการทา ผัดผักรวมมิตร
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูนำตะกร้าใส่ผักและผลไม้หลายชนิดที่มีความแตกต่างกันทั้งสีรูปทรงและขนาด
มาให้เด็กดู พร้อมทั้งให้เด็กออกมาเข้าแถวดูกันอย่างเป็นระเบียบ ครูถามเด็กว่ารู้จักผักอะไรบ้าง
 ผักชนิดไหนมีขนาดใหญ่ที่สุด และเล็กที่สุด ผักชนิดใดมีรูปทรงกลมคล้ายลุกบอล เช่น กะหล่ำปลี
(ทั้งผล) มะเขือเทศ ข้าวโพดอ่อน ถั่วลันเตา คะน้า ส้ม ชมพู่ แตงโม เป็นต้น
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสีและรูปทรง
2.1 เด็ก ๆ คิดว่าผักและผลไม้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง และบอกว่าวันนี้เราจะทำอาหารจากผักเหล่านี้
2.2 ครูหยิบผักแต่ละชนิดมาโดยถามเด็กว่าส่วนนี้ของผักเรียกว่าอะไร เด็กช่วยกันบอก
เช่น ใบ ก้าน ว่าเราสามารถนำ ผักเหล่านี้มาทำอะไรได้บ้าง ครูพูดพร้อมบอกว่าเราสามารถนำมาทำ
 อาหารต่าง ๆ มากมายจากผัก เช่น แกงส้ม สลัด ผักชุบแป้งทอด ครูถามเด็กว่าใครชอบทานผักบ้าง
ครูกล่าวชื่นชมเด็กที่ยกมือ และบอกว่าร่างกายจะแข็งแรง
3. ครูนำวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ แนะนา ให้เด็ก ๆ รู้จักชื่อและวิธีใช้ เช่น(มีดเอาไว้ปอกใช้คู่
กับเขียง เอาไว้หั่นผักและหมู) (กะทะ ใช้คู่กับตะหลิวเอาไว้ผัด) (หม้อ ใช้คู่กับทัพพี เอาไว้ต้มหรือแกง)
 เตาแก๊ส ถังแก๊ส ส่วนผสมต่างๆ
4. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรมประกอบอาหารจากผัก
 ชื่ออาหารคือ ผัดผักรวมมิตร เช่นข้อตกลงมีดังนี้
4.1 เด็ก ๆ ต้องรอรับอุปกรณ์ที่ครูแจกให้อย่างอดทน และมีระเบียบ
4.2 ไม่พูดคุย เสียงดัง ระหว่างปฏิบัติกิจกรรม
4.3 ไม่ทำอุปกรณ์ เสียหาย และหลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จต้องช่วยกันเก็บอุปกรณ์
4.4 ต้องเคารพกฎในการทำอาหาร โดยทำอย่างระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
ขั้นดำเนินการ
1. เด็ก ๆ เข้าแถวรับอุปกรณ์ ส่วนผสม การทำผัดผักรวมมิตรจากครู
2. ครูแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 7-8 คน ครูอธิบายพร้อมกับสาธิตการทำให้กับ กลุ่มที่ 1 ดูก่อน
 โดยให้เด็กๆ สัมผัสว่าผักชนิดไหนที่แข็งกว่า จะต้องนำลงกะทะเพื่อผัดก่อนเสมอ เพราะจะสุกยากกว่า
 หลังจากนั้นครูก็ไปกลุ่มที่ 2 โดยครูผลัดไปดูระหว่างกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 พร้อมกำชับ
เรื่องการเกิดอุบัติเหตุเพราะต้องเปิดแก๊สระหว่าง  การประกอบอาหารเมื่อเสร็จแล้วครูตักใส่จาน 2 จาน
ให้เด็ก ๆ ช่วยกันบอกว่าจานที่ 1 มากหรือน้อยกว่าจานที่ 2 ครูให้เด็กชิม ผักแต่ละคำว่าผักชนิดไหน
มีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม และชนิดไหนค่อนข้างแข็ง ครูชื่นชมผลงานเด็กว่ามีรสชาติดี
3. หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ เด็ก ๆ ร่วมกันเก็บอุปกรณ์ และร่วมกันทำความสะอาดบริเวณที่ทำกิจกรรม

ขั้นสรุป
1. ครูและเด็กร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของผัก
2. ครูกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเด็กที่สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างดี

สื่อการเรียนรู้
1. ผักชนิดต่าง ๆ เช่น แครอท ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี  ฯลฯ
2. อุปกรณ์และส่วนผสมในการทา ผัดผักรวมมิตร
3. ภาพอาหารต่าง ๆ ที่ทำมาจากผัก

การวัดและการประเมินผล
1. วิธีการวัด / สิ่งที่วัด
สังเกตจากการสนทนา และการตอบคำถาม
2. เกณฑ์การวัดผล
เกณฑ์การให้คะแนน มีดังนี้
ระดับคะแนน 1 หมายถึง เด็กสามารถตอบคำถามได้
0 หมายถึง เด็กไม่สามารถตอบคำถามได้



แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้ อาหารดีมีประโยชน์ เรื่อง ผักชุบแป้งทอด
สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 2 สอนวัน พุธ ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 30 นาที
สาระสำคัญ
การให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงจากการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารจะทำให้เด็ก
เกิดพัฒนาการด้านปัญญา และมีทักษะทางคณิตศาสตร์ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารในครั้งนี้หยิบยกนาเอาผักนานาชนิดที่มี รูปทรงและสีสันแตกต่างกัน
เพื่อสนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก เกิดการสังเกตและจดจำ ลักษณะรวมทั้งสามารถ
จับคู่ผักที่มีลักษณะหรือสีที่คล้ายคลึงกันได้ซึ่งจะช่วยพัฒนาพักษะพื้นฐานให้แก่เด็กได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เด็กสามารถจับคู่ผักที่มีรูปทรงคล้ายกันได้
สาระการเรียนรู้
- การปฏิบัติตนในการประกอบอาหาร
- การประกอบอาหาร และการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
เนื้อหา
1. ทักษะทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการจับคู่
2. ขั้นตอนการประกอบอาหารผักชุบแป้งทอด
ขั้นตอนการดาเนินการ
ขั้นนำ
1. ครูนำบัตรคำ และภาพผักต่าง ๆ มาให้เด็ก ๆ ดูและนำภาพเงาของผักชนิดนั้นให้เด็กเด็กจับคู่
 จากนั้นโยงเข้าสู่กิจกรรมการทำผัดผักรวมมิตร
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับข้อตกลงร่วมกันที่ได้ตกลงกันไว้เมื่อกิจกรรมที่แล้ว
 จากนั้นใช้คำถามดังนี้
2.1 เด็ก ๆ คิดว่าผักแต่ละชนิดแตกต่างกันตรงไหนบ้าง เช่น สี ขนาด รูปร่าง  กลิ่น
2.2 ครูนำผักที่หั่นแล้วแจกให้เด็กแต่ละคน คนละชนิด จากนั้นครูให้เด็กแต่ละคนหาคู่เพื่อนที่ได้
ผักชนิดเดียวกัน คู่ไหนหาได้ให้นั่งลง จากนั้นครูกล่าวชื่นชม 3 คู่แรกที่เป็นผู้ชนะ
3. ครูโยงเข้าสู่กิจกรรมการประกอบอาหารผักชุบแป้งทอด โดยอธิบายพร้อมสาธิตวิธีการทำ
พร้อมนำวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำให้เด็ก ๆ ได้รู้จัก
4. ครูและเด็กร่วมกันทบทวนข้อตกลงร่วมกันในเรื่องการปฏิบัติตนในการร่วมกันทำกิจกรรม
ประกอบการทำถั่วฝักยาวชุบแป้งทอด ดังนี้
4.1 เด็กต้องรู้จักอดทนรอคอย และมีระเบียบในการรอรับวัสดุอุปกรณ์
4.2 ไม่พูดคุยเสียงดัง ไม่เล่นซุกซน ในระหว่างการทำกิจกรรม
4.3 ในระหว่างทำกิจกรรมต้องไม่เล่น
ขั้นดำเนินการ
1. เด็กเข้าแถว รอรับอุปกรณ์โดยครูแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 7-8 คน แยกกันไปทำโดยครู
จะผลัดไปดูเด็ก ๆ และคอยดูอย่างใกล้ชิด
2. หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ เด็ก ๆ ร่วมกันเก็บอุปกรณ์ลงในที่กำหนดไว้ และร่วมกัน
ทำความสะอาดบริเวณที่ทำกิจกรรม และร่วมกันชิม พร้อมทั้งบอกเด็กว่าผักที่เด็กๆบางคนไม่ชอบ
แต่เมื่อนำมาชุบแป้ ง ก็จะอร่อยน่าทาน ให้เด็กๆ นำไปบอกผู้ปกครองให้ทำทานกันที่บ้าน ร่างกายจะ
ได้แข็งแรง
ขั้นสรุป
1. ครูและเด็กร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ ของผักชุบแป้ งทอด
2. ครูกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเด็ก
สื่อการเรียนรู้
1. บัตรคำ
2. ภาพอาหาร ถาพเงาของผักชนิดต่างๆ
3. อุปกรณ์ในการทำผักชุบแป้งทอด
การวัดและการประเมินผล
1. วิธีการวัด / สิ่งที่วัด
1.1 การตอบคำถาม
2. เกณฑ์การวัดผล
1 หมายถึง เด็กสามารถตอบคำถามได้
0 หมายถึง เด็กไม่สามารถตอบคำถามได้



แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้ อาหารดีมีประโยชน์ เรื่อง ส้มตาผลไม้
สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 3 สอนวัน ศุกร์ ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 30 นาที
สาระสาคัญ
ส้มตำ เป็นอาหารที่แสดงถึงวัฒนธรรมพื้นบ้านทางภาคอีสานได้รับความนิยมจากนานาประเทศ
ในเรื่องของรสชาติ และคุณประโยชน์ อีกทั้งวิธีการปรุงก็เรียบง่ายเหมาะสาหรับการนำมา
จัดกิจกรรมการประกอบอาหารให้แก่เด็ก เพราะมีวัตถุดิบที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็ก
ได้รับการฝึกในเรื่องของการจับคู่และจำแนกสิ่งต่าง ๆ ตามรูปร่าง ขนาด การบอกตาแหน่งของสิ่งของ
 การเรียบเทียบขนาด รูปร่าง น้ำหนัก ความยาวและส่วนสูงก่อนที่จะเรียนคณิตศาสตร์ในชั้นประถมต่อไป
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เด็กสามารถจับคู่สิ่งของที่มีรูปทรงคล้ายกันได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้
- การปฏิบัติตนในการประกอบอาหาร
2. กิจกรรมสำคัญ
- การประกอบอาหาร และการทา กิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
เนื้อหา
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เรื่องการจับคู่
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูนำผลไม้ต่างๆ ใส่ตะกร้ามาให้เด็กดู เช่น แอปเปิ้ล มะละกอ ฝรั่ง สาลี่ ครูให้เด็กเข้าแถวออกมาดู
 และสัมผัสอย่างเป็นระเบียบ พร้อมกับถามว่าใครรู้บ้างว่ามีผลไม้ อะไรบ้างอยู่ในตะกร้า
 เด็ก ๆ ช่วยกันตอบ พร้อมกับให้ตัวแทนออกมาจัดผลไม้ให้อยู่ในกลุ่มพวกเดียวกัน
เช่น แอปเปิ้ลคู่กับแอปเปิ้ล สาลี่คู่กับสาลี่ และจับคู่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามที่ครูบอก
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์และรสชาติของผลไม้ โดยใช้คาถาม
ดังนี้

2.1 เด็ก ๆ คิดว่าผลไม้มีประโยชน์และผลไม้แต่ละชนิดมีรสชาติอย่างไร ครูให้เด็กชิมผลไม้ชนิดต่างๆ
 ที่หั่นเตรียมนามา
2.2 ผลไม้สามารถนามาประกอบอาหารได้หรือไม่ และทา อะไรได้บ้างครูนำภาพมาประกอบคำอธิบาย
3. ครูโยงเข้าสู่กิจกรรมการประกอบอาหารส้มตาผลไม้ โดยครูอธิบายพร้อมสาธิต
วิธีการทำพร้อมนำวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ทำให้เด็ก ๆ ดูและสัมผัสทั่วกัน
4. ครูและเด็กร่วมกันทบทวนข้อตกลงร่วมกันในเรื่องการปฏิบัติตนในการทำกิจกรรมประกอบอาหารส้มตำ
 ผลไม้ ดังนี้
4.1 เด็ก ๆ ต้องรู้จักอดทนรอคอย และมีระเบียบวินัย
4.2 ไม่พูดคุยเสียงดัง ในระหว่างทำกิจกรรม
4.3 ไม่ทำวัสดุ อุปกรณ์ เสียหาย และหลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จต้องช่วยกันเก็บ
4.4 ต้องเคารพกฏกติกาในการประกอบอาหารโดยทำอย่างระวัง
ขั้นดำเนินการ
1. แบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 7-8 คน แล้วเข้าแถวรอรับอุปกรณ์ ส่วนผสมการทำส้มตำผลไม้
 โดยครูคอยแนะนา อย่างใกล้ชิด ครูบอกให้ตัวแทนกลุ่มแต่ละกลุ่มหยิบส่วนผสม ตามจำนวน
ที่สั่ง เมื่ออีกลุ่มหยิบสิ่งใดขั้นมา ให้อีกกลุ่มหาและหยิบขั้นมาเช่นเดียวกัน พร้อมร่วมกันออกเสียง
นับจำนวนพร้อมๆกัน เริ่มด้วย กระเทียม ถั่วฝักยาว มะละกอ มะเขือเทศ ใส่น้า ตาลปี๊บ น้ำปลา
  มะนาว คลุกเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่จาน
2. หลังทำกิจกรรมเสร็จเด็กร่วมกันเก็บอุปกรณ์ในที่กำหนดไว้ และร่วมกันทำความสะอาด
 บริเวณที่ทำ กิจกรรม
ขั้นสรุป
1. ครู และเด็กร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของผลไม้
2. ครูกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเด็กแต่ละคน
สื่อการเรียนรู้
1. ผลไม้ชนิดต่าง ๆ
2. วัสดุ อุปกรณ์ และส่วนผสมในการทำส้มตำผลไม้
การวัดและการประเมินผล
1. วิธีการวัด / สิ่งที่วัด
1.1 การตอบคำถาม
1.2 แบบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ ระหว่างปฏิบัติกิจกรรมการประกอบอาหาร

2. เกณฑ์การวัดผล
1 หมายถึง เด็กสามารถตอบคำถามได้
0 หมายถึง เด็กไม่สามารถตอบคำถามได้