วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
เนื้อหาที่เรียน
กิจกรรมที่ 1
เพื่อนคนแรก คือ นางสาวอรอุมา ศรีท้วม ออกมานำเสนอบทความเรื่องทักษะคณิตศาสตร์สร้างได้ จาก นิตยสารรักลูกพูดเกี่ยวกับความหมายของคณิตศาสตร์ การนับจำนวน การเปรียบเทียบ และการเรียงลำดับ 3-4 เดือน (รูปธรรม)เรียนรู้ผ่านการใช้สัมผัสทั้ง 5 และ 4-5 เดือน (นามธรรม) เด็กเริ่มบวกเลข มากกว่า น้อยกว่าโดยการใช้เครื่องหมายได้
ต่อมาคือ นางสาวขนิษฐา สมานมิตร นำเสนอวิจัยเรื่องทักษะการคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ ปริญญานิพนธ์ : คุณ ปานิตา กุดกรุง ปี 2553
ความมุ่งหมายของวิจัย : เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน - หลัง การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากเศษวัสดุธรรมชาติ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ : เด็กผู้ชาย - เด็กผู้หญิง อายุระหว่าง 4 - 5 ปี ของชั้น อนุบาล 1 โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ยโดยสุ่มแบบ
➤ เลือกห้องเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน
➤ จับฉลากมา 15 คน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
➤ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
➤ แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วิธีดำเนินวิจัย
1. ทดสอบเด็กก่อนการทดลองด้วยแบบทดสอบการวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2. ใช้เวลาทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที โดยกิจกรรมสร้างสรรค์จากเศษวัสดุธรรมชาติ
3. เมื่อทดลองครบ ก็ทำการทดสอบหลังกิจกรรมโดยใช้ชุดเดียวกับก่อนทดสอบ
4. นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ
สุปผลการวิจัย
➯ เด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น เช่น การนับ การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ
➯ เด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น 59.33 ของความสามารถเดิม
กิจกรรมที่ 2
อาจารย์ให้ดูรูปภาพหน้าปกหนังสือว่ามีอะไรที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์บ้าง
หนังสือที่มีตัวเลข ที่ทุกคนมองเห็นก็มีดังต่อไปนี้ ➯ตัวเลข จำนวนนับ เด็กในภาพมีกี่คน รูปร่าง พื้นที่ จำนวนแขน ขา ขนาดตัวเลขที่ต่างกัน ค่ามากกว่า น้อยกว่า เป็นต้น
กิจกรรมที่ 3
สอนเนื้อหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเดิม🎯ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
ประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ
1. การนับ (Counting)
2. ตัวเลข (Number)
3. การจับคู่ (Matching)
4. การจัดประเภท (Classification)
5. การเปรียบเทียบ (Comparing)
6. การจัดลำดับ (Ordering)
7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space)
8. การวัด (Measurement)
9. เซต (Set)
10. เศษส่วน (Fraction)
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
12. การอนุรักษ์ หรือ การคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)
🎯 หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. เด็กเรียนจากประสบกาณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากการสอนแบบรูปธรรม คือ
⭐ ขั้นใช้ของจริง
⭐ ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง
⭐ ขั้นกึ่งรูปภาพ
⭐ ขั้นนามธรรม
2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปหายาก
3. สร้างความเข้าใจและความรู้ความหมายมากกว่าการจำ
4. ให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย
6. จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก แล้วสรุปกฎเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย
7. จัดกิจกรรมทบทวนโดยตั้งคำถามให้ตอบปากเปล่าหรือสร้างเรื่องราวให้คิดซ้ำ ส่งเสริมให้เด็กคิดปัญหาและหาเหตุผล ข้อเท็จจริง
ทักษะที่ได้รับ
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การสอนเด็กต้องมีลำดับขั้นตอนและมีแบบแผน การสอนเด็กแต่ละคนควรใส่ใจและควรคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กเป็นสำคัญ
การนำทักษะกระบานการคิดไปประกอบการเรียนการสอนในอนาคตเมื่อเจอเหตุการณ์ต่างๆ
บรรยากาศในห้องเรียน
เป็นไปอย่าฃสนุกสนาน และเพื่อน ๆ ทุกคนตั้งใจฟังและช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินวิธีการสอน
อาจารย์จินตนาจริงจังกับการสอนมากและอยากให้นักศึกษาเข้าใจและตอบได้ จึงพยายามให้นักศึกษาตอบคำถามเพื่อเป็นการทบทวนความเข้าใจ
คุณธรรมจริยธรรม
การตรงต่อเวลา
การตั้งใจฟัง
ความรับผิดชอบ