วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 4

                              วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ.2561   เวลา 08:30 - 12:30 น.


          เนื้อหาที่เรียน

                     กิจกรรมที่ 1 อาจารย์จินตนาได้ตรวจดูบล็อกของแต่ละคนตามลำดับเลขที่เพื่อดูความเรียบร้อยและดูว่าของใครนั้นขาดตกบกพร่องตรงส่วนไหนบ้าน ก็ให้ไปปรับแก้ เช่น วิจัยที่หามา ต้องเป็นวิจัยที่มี 5 บท ไม่เก่าจนเกินไป และ โครงสร้างบล็อกควรจัดอย่างไร รวมไปถึงตัวอักษร ต้องอยู่กึ่งกลาง ไม่ตกหล่น และควรใส่องค์ประกอบให้ครบ เช่น แหล่งเรียนรู้  เพลง เกม  นิทาน  เป็นต้น
                    ต่อมาอาจารย์จินตนาให้เลขที่ 1, 2, 3 ออกมานำเสนอ บทความ วิจัยและตัวอย่างการสอน ตามประเภทที่ได้ ให้เพื่อนฟัง  แต่ออกมานำเสนอได้เพีนง 1 คน เนื่องจากเพื่อนอีก 2 คนยังไม่พร้อม







          ความรู้ที่ได้จาากการนำเสนอตัวอย่างการสอน ของนางสาว อภิชญา  โมคมูล   เลขที่ 3  
เรื่อง... การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนในประเทศสิงคโปร์  
สรุปความรู้ที่ได้ฟัง   ⇨  ในประเทศสิงคโปร์  โรงเรียนแห่งหนึ่งจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้เรียนรู้จากของสิ่ง  เช่น การนำแอปเปิ้ลมาวาง ให้เด็กได้จับต้องได้ ดมกลิ่นได้  ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของบรูเนอร์คือการให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเรียนรู้จากของจริงและเกิดการค้นพบด้วยตนเอง



               กิจกรรมที่ 2   อาจารย์จินตนาแจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ได้เรียนรู้การแทนสัญลักษณ์จากการแจกกระดาษ   ถ้าเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวนมากกว่าและน้อยกว่าจะแทนค่าอย่างไร
" กระดาษมากกว่าคน  แสดงว่าถ้าสิ่งใดเหลือแปลว่ามีจำนวนมากกว่า  การคิดควรคิดให้เป็นคณิตศาสตร์  คือ เอาตัวเลขไปแทนกระดาษกับคน  → กระดาษ มี 23  แผ่น คน มี 20 คน "

ใช้สัญลักษณ์แทนค่าได้ดังนี้   ➤  กระดาษ     >     คน 
                                        23   >  20  อยู่  3
                                        23   -   20   =  3
นอกจากนี้ หากไม่ใช้สัญลักษณ์แบบข้างต้น สามารถวาดภาพ 💓 หรือจุด ୦ แทนจำนวนให้เด็ดเรียนรู้ได้

               ➤  ต่อมาอาจารย์ให้พับกระดาษเป็น 2 ส่วน  จะออกมาในลักษณะใดก็ได้ จะมีพื้นที่เท่ากันก็ได้ หรือไม่เท่ากันก็ได้  เช่นเดียวกับคณิตศาสตร์ที่สามารถแก้ปัญหาได้หลายรูปแบบเช่นกัน



ภาษา  เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
คณิตศาสตร์   เป็นเครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหา และหาคำตอบได้หลายวิธีการ


การจัดประสบการณ์    คณิตศาสตร์    เด็กปฐมวัย   ➯ สำคัญที่สุดการจัดการเรียนการสอนต้องดูที่เด็กก่อนว่ามีความพร้อมและมีพัฒนาการตามวัยอย่างไร

           ต่อมาอาจารย์ให้วาดภาพแทนความหมายและลักษณะของคำว่าพัฒนาการ
                    ความหมายของพัฒนาการ  คือ  พฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกในแต่ละระดับอายุ
                    ลักษณะของพัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง 

➤ ขั้นบันได  สามารถบอกได้ว่า ลักษณะเป็นไปอย่างต่อเนื่องตาม ลำดับขั้น  

                      ➤ในวัยเด็กแรกเกิด - 2 ปี เด็กวัยนี้มีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่เด็กเจริญเติมโตได้ค่อนข้างไว สังเกตการเรียนรู้ของเด็กได้จากการ ส่งเสียงร้อง อ้อแอ้  ขว้าง ปา  กัด มองตามของตก เป็นต้น 

ซึ่งกระบวนการทำงานของสมอง มี 3 ขั้น

ขั้นที่ 1 กระบวนการดูดซับ  ➨  รับประสบการณ์
ขั้นที่ 2 การปรับและจัดระบบ  ➨   เด็กซึมซับจากประสบการณ์ใหม่ และปรับให้เข้ากับประสบการณ์เดิม
เช่น  การหยดสีลงบนกระดาษเปียก  เด็กหยดสีแดง  กับสีน้ำเงินลงไป  = ประสบการณ์เดิม
สีแดงวิ่งเข้าหาสีน้ำเงินทำให้เกิด สีม่วง  เด็กเห็นสีม่วง = ประสบการณ์ใหม่ 
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก คือ  เด็กเกิดการเรียนรู้ 

หลักการจำ      ➪ถ้ารับรู้ แล้วเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าเกิดการเรียนรู้
                        ➪ถ้ารับรู้แล้วไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าแค่รับรู้อย่างเดียว
ขั้นที่ 3 การเกิดความสมดุล ➨ เด็กตอบตามเหตุผล มีการใช้เหตุผลมากขึ้นเตรียมสู่ระดับประถมศึกษา
➤เพียเจต์ได้นำหลักการนี้มากจาก การทำงานของสมอง จับกับอายุของเด็ก เกิดเป็นพฤติกรรม

  
          
               ทักษะที่ได้รับ
                     การคิดแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์
                     การคิดอย่างมีลำดับขั้น ต่อเนื่อง
           
               การนำมาประยุกต์ใช้ 
           การนำทักษะกระบานการคิดไปประกอบการเรียนการสอนในอนาคตเมื่อเจอเหตุการณ์ต่างๆ

              บรรยากาศในห้องเรียน
           การเรียนในวันนี้เป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถามและช่วยกันระดมความคิด แต่ก็ถือว่าเคร่งเครียดสำหรับการเรียนในวันนี้

              ประเมินวิธีการสอน
            อาจารย์จินตนาจริงจังกับการสอนมากและอยากให้นักศึกษาเข้าใจและตอบได้ จึงพยายามให้นักศึกษาตอบคำถามเพื่อเป็นการทบทวนความเข้าใจ

              คุณธรรมจริยธรรม
            การตรงต่อเวลา
            การคิดอย่างรอบคอบ
            การให้ความร่วมมืือในห้องเรียน


               ภาพกิจกรรม