วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 4

                              วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ.2561   เวลา 08:30 - 12:30 น.


          เนื้อหาที่เรียน

                     กิจกรรมที่ 1 อาจารย์จินตนาได้ตรวจดูบล็อกของแต่ละคนตามลำดับเลขที่เพื่อดูความเรียบร้อยและดูว่าของใครนั้นขาดตกบกพร่องตรงส่วนไหนบ้าน ก็ให้ไปปรับแก้ เช่น วิจัยที่หามา ต้องเป็นวิจัยที่มี 5 บท ไม่เก่าจนเกินไป และ โครงสร้างบล็อกควรจัดอย่างไร รวมไปถึงตัวอักษร ต้องอยู่กึ่งกลาง ไม่ตกหล่น และควรใส่องค์ประกอบให้ครบ เช่น แหล่งเรียนรู้  เพลง เกม  นิทาน  เป็นต้น
                    ต่อมาอาจารย์จินตนาให้เลขที่ 1, 2, 3 ออกมานำเสนอ บทความ วิจัยและตัวอย่างการสอน ตามประเภทที่ได้ ให้เพื่อนฟัง  แต่ออกมานำเสนอได้เพีนง 1 คน เนื่องจากเพื่อนอีก 2 คนยังไม่พร้อม







          ความรู้ที่ได้จาากการนำเสนอตัวอย่างการสอน ของนางสาว อภิชญา  โมคมูล   เลขที่ 3  
เรื่อง... การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนในประเทศสิงคโปร์  
สรุปความรู้ที่ได้ฟัง   ⇨  ในประเทศสิงคโปร์  โรงเรียนแห่งหนึ่งจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้เรียนรู้จากของสิ่ง  เช่น การนำแอปเปิ้ลมาวาง ให้เด็กได้จับต้องได้ ดมกลิ่นได้  ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของบรูเนอร์คือการให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเรียนรู้จากของจริงและเกิดการค้นพบด้วยตนเอง



               กิจกรรมที่ 2   อาจารย์จินตนาแจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ได้เรียนรู้การแทนสัญลักษณ์จากการแจกกระดาษ   ถ้าเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวนมากกว่าและน้อยกว่าจะแทนค่าอย่างไร
" กระดาษมากกว่าคน  แสดงว่าถ้าสิ่งใดเหลือแปลว่ามีจำนวนมากกว่า  การคิดควรคิดให้เป็นคณิตศาสตร์  คือ เอาตัวเลขไปแทนกระดาษกับคน  → กระดาษ มี 23  แผ่น คน มี 20 คน "

ใช้สัญลักษณ์แทนค่าได้ดังนี้   ➤  กระดาษ     >     คน 
                                        23   >  20  อยู่  3
                                        23   -   20   =  3
นอกจากนี้ หากไม่ใช้สัญลักษณ์แบบข้างต้น สามารถวาดภาพ 💓 หรือจุด ୦ แทนจำนวนให้เด็ดเรียนรู้ได้

               ➤  ต่อมาอาจารย์ให้พับกระดาษเป็น 2 ส่วน  จะออกมาในลักษณะใดก็ได้ จะมีพื้นที่เท่ากันก็ได้ หรือไม่เท่ากันก็ได้  เช่นเดียวกับคณิตศาสตร์ที่สามารถแก้ปัญหาได้หลายรูปแบบเช่นกัน



ภาษา  เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
คณิตศาสตร์   เป็นเครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหา และหาคำตอบได้หลายวิธีการ


การจัดประสบการณ์    คณิตศาสตร์    เด็กปฐมวัย   ➯ สำคัญที่สุดการจัดการเรียนการสอนต้องดูที่เด็กก่อนว่ามีความพร้อมและมีพัฒนาการตามวัยอย่างไร

           ต่อมาอาจารย์ให้วาดภาพแทนความหมายและลักษณะของคำว่าพัฒนาการ
                    ความหมายของพัฒนาการ  คือ  พฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกในแต่ละระดับอายุ
                    ลักษณะของพัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง 

➤ ขั้นบันได  สามารถบอกได้ว่า ลักษณะเป็นไปอย่างต่อเนื่องตาม ลำดับขั้น  

                      ➤ในวัยเด็กแรกเกิด - 2 ปี เด็กวัยนี้มีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่เด็กเจริญเติมโตได้ค่อนข้างไว สังเกตการเรียนรู้ของเด็กได้จากการ ส่งเสียงร้อง อ้อแอ้  ขว้าง ปา  กัด มองตามของตก เป็นต้น 

ซึ่งกระบวนการทำงานของสมอง มี 3 ขั้น

ขั้นที่ 1 กระบวนการดูดซับ  ➨  รับประสบการณ์
ขั้นที่ 2 การปรับและจัดระบบ  ➨   เด็กซึมซับจากประสบการณ์ใหม่ และปรับให้เข้ากับประสบการณ์เดิม
เช่น  การหยดสีลงบนกระดาษเปียก  เด็กหยดสีแดง  กับสีน้ำเงินลงไป  = ประสบการณ์เดิม
สีแดงวิ่งเข้าหาสีน้ำเงินทำให้เกิด สีม่วง  เด็กเห็นสีม่วง = ประสบการณ์ใหม่ 
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก คือ  เด็กเกิดการเรียนรู้ 

หลักการจำ      ➪ถ้ารับรู้ แล้วเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าเกิดการเรียนรู้
                        ➪ถ้ารับรู้แล้วไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าแค่รับรู้อย่างเดียว
ขั้นที่ 3 การเกิดความสมดุล ➨ เด็กตอบตามเหตุผล มีการใช้เหตุผลมากขึ้นเตรียมสู่ระดับประถมศึกษา
➤เพียเจต์ได้นำหลักการนี้มากจาก การทำงานของสมอง จับกับอายุของเด็ก เกิดเป็นพฤติกรรม

  
          
               ทักษะที่ได้รับ
                     การคิดแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์
                     การคิดอย่างมีลำดับขั้น ต่อเนื่อง
           
               การนำมาประยุกต์ใช้ 
           การนำทักษะกระบานการคิดไปประกอบการเรียนการสอนในอนาคตเมื่อเจอเหตุการณ์ต่างๆ

              บรรยากาศในห้องเรียน
           การเรียนในวันนี้เป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถามและช่วยกันระดมความคิด แต่ก็ถือว่าเคร่งเครียดสำหรับการเรียนในวันนี้

              ประเมินวิธีการสอน
            อาจารย์จินตนาจริงจังกับการสอนมากและอยากให้นักศึกษาเข้าใจและตอบได้ จึงพยายามให้นักศึกษาตอบคำถามเพื่อเป็นการทบทวนความเข้าใจ

              คุณธรรมจริยธรรม
            การตรงต่อเวลา
            การคิดอย่างรอบคอบ
            การให้ความร่วมมืือในห้องเรียน


               ภาพกิจกรรม  











วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 3


               บันทึกครั้งที่ 3 วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ.2561   เวลา 08:30 - 12:30 น.

           เนื้อหาที่เรียน
                    วันนี้เป็นอาจารย์ติดธุระขึ้นมาไม่ได้แต่ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำคือ การคิดสื่อคณิตศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้ได้จริง โดยให้ทำงานอยู่ในห้องและส่งท้ายคาบเรียน
วางแผนการทำสื่อจากการหาแบบอย่าง

                    และงานที่ออกมาเป็นดังนี้ เพื่อนๆแต่ละคนก็มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำงานของตนเองมาก เชิญชมกันเลย






          ทักษะที่ได้รับ
                    การวางแผนและการลำดับขั้นความคิด
                    การลงมือทำงานที่ได้รับมอบหมาย


          การนำมาประยุกต์ใช้
                     การคิดและวางแผนงานสื่อจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับชื้นงานต่อเด็กที่จะมาเล่นเพราะงานทุกชิ้นที่เราทำควรมีประโยชน์มากกว่าการเล่นเพราะสื่อ 1 ชิ้นต้องเล่นได้หลายอย่าง


          บรรยากาศในห้องเรียน
                     เพื่อนๆต่างตั้งใจค้นหาและมุ่งมั่นในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย


          ประเมินวิธีการสอน
                     การสอนแต่ละอย่างส่วนมากจะเน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ ทำให้นักศึกษาเข้าใจงานได้ดีขึ้น


           คุณธรรมจริยธรรม                    
                       รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จ
                       ตั้งใจ เพียร พยายามในการทำงาน

วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 2


          วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น.

          เนื้อหาที่เรียน
                    วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น เพื่อให้ทำงานเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยสิ่งที่สำคัญคือ 3 คำ มีคำว่า การจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์ และเด็กปฐมวัย โดยกระดาษที่แจกมาให้เราทำแผนผังออกมาเป็นหัวข้อของแต่ละคำ โดยหัวข้อที่นำมาใส่นำมาจากแนวการสอน เมื่อทำเสร็จแล้วอาจารย์ได้นำไปตรวจและให้แก้ไขเพื่อทำให้แผนผังดีขึ้น



แผ่นที่ 1 


แผ่นที่ 2 (แก้ไข)

                    จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษแผ่นเล็กๆมาให้และออกแบบชื่ิของตัวเองโดยเขียนให้ตัวหนังสือติดกัน และนำไปติดตามเวลาบนกระดาน คือ  คนที่ตื่นก่อน 7 โมงเช้า ก็นำชื่อตัวเองไปติดที่กระดานหน้าห้อง และต่อมาคนที่ตื่นตอน 7 โมงเช้า และหลัง 7 โมงเช้าให้นำชื่อไปติดบนกระดาน การทำแบบนี้ สอนเรื่อง เวลา  การเข้าแถวให้เป็นระเบียบ หรืออาจใช้เพลงมาช่วยในการเรียกเด็กออกมา  และสอนเรื่องการเปรียบเทียบ การบวกและการลบ




        ข้อควรรู้
                    ในการลงมือปฎิบัติมีความรู้ให้ในเรื่องการแจกกระดาษ ในเมื่อกระดาษไม่พอทำให้เกิดการเปรียบเทียบว่าเมื่อเราแจกกระดาษ 1 ต่อ 1 ปรากฎว่ากระดาษไม่พอ การสอนประสบการณ์ให้เด็กควรที่จะสอนทีละเรื่อง เพื่อความเข้าใจง่ายๆ ของเด็ก


        ทักษะที่ได้รับ
                    ทักษะจากการสร้างสถานการณ์
                    ทักษะในการวิเคราะห์และสรุปเนื้อหาการเรียน
                    ทักษะความสำคัญคือ การแก้ปัญหา


          การนำมาประยุกต์ใช้
                    สามารถนำเทคนิควิธีการสอนและกระบวนการคิดนี้มาปรับประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการสอน
                    เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีตามวัยและช่วงอายุ
                    เน้นไปทางด้านเกมการศึกษาจะช่วยฝึกกระตุ้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กได้เป็นอย่างดี


          บรรยากาศในห้องเรียน
                    บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียนรู้ เพื่อนๆ นักศึกษาทุกคนตั้งใจฟังและเข้าใจเวลาอาจารย์พูดดูไม่ตรึงเครียดและฝึกการคิดการวางแผนได้ดี





          ประเมินวิธีการสอน
                    การสอนของอาจารย์จะเน้นกระบนการคิดและการวิเคราะห์พร้อมให้นักศึกษาตอบ
                    จะคอยเพิ่มเสริมคำตอบให้ถูกยิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลาเรียนแล้วเข้าใจง่าย


          คุณธรรมจริยธรรม
                    รับผิดชอบงานที่อาจารย์มอบหมายและสั่งงาน
                    ตั้งใจเรียนขณะที่อาจารย์กำลังสอน
                    ไม่เสียมารยาทรบกสนผู้สอนและผู้เรียน




วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561

ตัวอย่างการสอน

เรื่อง สื่อการเรียนรู้ลูกเต๋า
สรุป


           เกมการศึกษาเกี่ยวกับลูเต๋าที่คุณครูนำมาประยุกต์ใช้กับเด็กๆในชั้นเรียน
     ตอนที่ 1 เรื่องจำนวนคู่ - จำนวนคี่
               เด็กๆจะได้ฝึกนับจำนวนและบอกว่าเป็นจำนวนคู่ หรือ จำนวนคี่เพื่อเป็นการทบทวนการนับเลขไปในตัวและจะนำเลขไปติดไว้บนกระดาน  เด็กๆจะชอบ สนุกและมีความสุขกับเกมนี้ตอนสุดท้ายจะมาตัดสรุปตามกติกาที่ได้กำหนดไว้
     ตอนที่ 2 เรื่องการบวก
               เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์พื้นฐานให้กับเด็ก พร้อมทั้งมีการตั้งโจทย์ปัญหาง่ายๆจากการโยนลูกเต๋าตัวเลข  เด็กๆจะได้ฝึกนับจำนวน รูปประโยคสัญลักษณ์ รู้จักเครื่องหมายบวก และรวมจำนวนด้วย
   

วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561

บทความ

     


เรื่อง   
 เจาะคณิตศาสตร์ปฐมวัย
พ่อแม่ทราบหรือไม่ลูก ๆ เรียนอะไรกัน



                    เมื่อเอ่ยถึงวิชาคณิตศาสตร์ ต้องยอมรับว่าพ่อแม่ชาวไทยหลายคนเคยมีอดีตอันขมขื่นกับวิชานี้ แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า คณิตศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ นอกจากนั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ อีกหลายแขนง

       เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์  

      การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์

      ว่าแต่ว่า คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่าในแต่ละช่วงวัยของลูก เด็ก ๆ ควรมีความรู้ความเข้าใจในคณิตศาสตร์ในระดับใดบ้าง ทางสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้กำหนดคุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุ ว่าควรมีความซับซ้อนแตกต่างกัน



วันศุกร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 1

          


วันศุกร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ.2561  เวลาเรียน 13:30 - 17:30 น.


              เนื้อหาที่เรียน
     วันนี้เป็นแรกในการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์จ๋าได้แจกกระดาษ 1 แผ่น แล้วให้นักศึกษาเขียนตอบคำถามที่อาจารย์ถามมาให้ทั้งหมด 5 คำถาม และให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อทำงานเกี่ยวกับสื่อ 
     อาจารย์จ๋าได้สั่งงาน การทำ Blogger เพื่อส่งงานตามวัตถุประสงค์ของรายวิชาบอกเกี่ยวกับองค์ประกอบโดยรวมของบล็อก รายละเอียดหัวข้อ และมอบหมายให้ไปสร้างบล็อกพร้อมค้นหางานตามหัวข้อที่ได้รับคือ งานวิจัย 1 บท ,ตัวอย่างการสอน และ บทความ ซึ่งห้ามซ้ำกับเพื่อนพร้อมสรุปงานวิจัยและออกมานำเสนอ


     
      ทักษะที่ได้รับ
          ทักษะวิธีการวางแผน
          ทักษะการฟังและการแก้ปัญหา
          ทักษะการคิดวิเคราะห์


      การนำมาประยุกต์ใช้
           สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการสอนในห้องเรียนได้จริง
           สามารถนำทักษะที่ได้รับวันนี้ไปใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี


     บรรยากาศในห้องเรียน
          สนุกสนานไม่เครียดกับการเรียน เพื่อนๆ ตั้งใจในการตอบคำถามและตั้งใจฟัง



      ประเมินวิธีการสอน
          อาจารย์จ๋ามีเทคนิคการสอนที่สนุกสนานไม่รู้สึกกดดันและฝึกกระบวนการคิดและวิเคราะห์ทำให้การเรียนแบบนี้ตัวนักศึกษาไม่ง่วงนอนค่ะ  
          การเรียนแบบนี้คือเรียนไป เล่นไปจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีมากขึ้น



      คุณธรรมจริยธรรม
          ตั้งใจเรียนขณะที่อาจารย์ท่านกำลังสอน
          ไม่คุยหรือเล่นโมรศัพท์ในห้องเรียน
          รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย



   รูปภาพกิจกรรมการเรียน
          

กำลังจับกลุ่มทำงานกับเพื่อน