วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 8

   วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561


เป็นสัปดาห์ของการสอบ จึงไม่มีการเรียนการสอน


วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 7


วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561    เวลา 08:30 - 12:30 น.

               เนื้อหาที่เรียน
                    เป็นการนำเสนอบทความและการนำเสนอตัวอย่างการสอนของเพื่อน พร้อมทั้งสอนเรื่องกิจกรรมทั้ง 6 อย่างที่เด็กควรได้รับ
                     

                    คนแรก คือ นางสาววสุธิดา   คชชา พูดบทความเกี่ยวกับสอนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก   การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ ให้เด็กเรียนรู้อย่างสนุกสนาน โดยจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เช่น ให้เด็กเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ไม้ดอกไม้ประดับ
➤  จัดเด็กเป็นกลุ่มๆ ให้เรียนรู้เรื่องการจำแนกสิ่งต่างๆ เช่น
     ➪   ชนิดของดอกไม้           ➪   สีของดอกไม้               ➪   กลิ่นของดอกไม้

➤   นอกจากนี้เด็กสามารถเปรียบเทียบจำนวนของดอกไม้ที่จำแนกได้อีก และเปิดโอกาสให้เด็กแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน โดยวิธีการวาดภาพหรื่อเล่าให้ครู หรือเพื่อนๆฟัง

การลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างอิสระ เป็นวิธรที่เด็กจะเรียนรู้ การสอนควรเริ่มจากง่ายไปหายาก ตามลำดับ
⟹⟹  โดยมีครูคอยให้กำลังใจเด็กและชมเชย หรือให้เพื่อนๆปรบมือเป็นกำลังใจให้  ⟸⟸

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ

2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้
5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน




➤ สาระการเรียนรู้ 
มี 2 ส่วน  
1.ประสบการณ์สำคัญ    
    → ด้านร่างกาย  
    → ด้านอารมณ์-จิตใจ  
    → ด้านสังคม
    → ด้านสติปัญญา
2.สาระที่ควรเรียนรู้      
    → เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
    → เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก  
    → ธรรมชาติรอบตัวเด็ก 
    → สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 



                    คนต่อมา คือ นางสาวกิ่งแก้ว  ทนนำ    นำเสนอตัวอย่างการสอนเรื่องรูปทรงแปลงร่าง ตอนที่ 32 ป.ปลาตากลม  การถามประสบการณ์เดิม เชื่อมโยง รูปทรง ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จากการใช้มือคลำโดยหลับตา 
มีการใช้เพลงประกอบการทำกิจกรรม 
เสริมจากอาจารย์ คือ ต้องมีกล่องใส่ การแจกกระดาษควรนำมานับด้วย เพื่อจะได้เป็นการสอนเด็กไปในตัว การทากาวควรให้หาไม้ไอศกรีมมาใช้ มือเด็กจะได้ไม่เปื้อนอีกด้วย

           ทักษะที่ได้รับ
                      การตอบคำถามควรมีความเข้าใจมากกว่าการตอบแบบไม่มีทิศทาง

          การนำมาประยุกต์ใช้
                    การสอนเด็กควรเป็นนำเรื่องที่เป็นสาระการเรียนรู้ทีี่ใกล้ตัวเด็ก และควรยึดกิจกรรมหลักทั้ง 6 อย่างด้วย การสอนควรประเมินดูเด็กด้วยว่าเข้าใจหรือไม่เข้าใจ มากน้อยเพียงใด

         บรรยากาศในห้องเรียน
                    เพื่อน ๆ ต่างช่วยกันตอบคำถามให้ตรงที่อาจารย์ต้องการเพราะการที่เราตอบไป อาจารย์คาดหวังให้เราทุกคนจำและเข้าใจในสิ่งที่ถูกดังนั้น วันนี้ในห้องจะเป็นการตอบคำถามมากกว่า

          ประเมินวิธีการสอน
                    ประเมินจากความเข้าใจและการตอบคำถามให้ตรงประเด็น  

        คุณธรรมจริยธรรม
                ความร่วมมือจากเพื่อนในห้องเรียน
                การตั้งใจฟัง



วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 6


วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561   เวลา 08:30 - 12:30 น.

          เนื้อหาที่เรียน
                 กิจกรรมที่ 1
                    เพื่อนคนแรก คือ นางสาวอรอุมา ศรีท้วม  ออกมานำเสนอบทความเรื่องทักษะคณิตศาสตร์สร้างได้ จาก นิตยสารรักลูกพูดเกี่ยวกับความหมายของคณิตศาสตร์ การนับจำนวน การเปรียบเทียบ และการเรียงลำดับ    3-4 เดือน (รูปธรรม)เรียนรู้ผ่านการใช้สัมผัสทั้ง 5   และ  4-5 เดือน (นามธรรม) เด็กเริ่มบวกเลข มากกว่า น้อยกว่าโดยการใช้เครื่องหมายได้



                    ต่อมาคือ นางสาวขนิษฐา  สมานมิตร  นำเสนอวิจัยเรื่องทักษะการคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ  ปริญญานิพนธ์ : คุณ ปานิตา  กุดกรุง  ปี 2553
                    ความมุ่งหมายของวิจัย : เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน - หลัง การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากเศษวัสดุธรรมชาติ
                    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ : เด็กผู้ชาย - เด็กผู้หญิง อายุระหว่าง 4 - 5 ปี ของชั้น อนุบาล 1 โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ยโดยสุ่มแบบ
     ➤ เลือกห้องเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน
     ➤ จับฉลากมา 15 คน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่าง
                    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
     ➤ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
     ➤ แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
                    วิธีดำเนินวิจัย
     1. ทดสอบเด็กก่อนการทดลองด้วยแบบทดสอบการวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
     2. ใช้เวลาทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที  โดยกิจกรรมสร้างสรรค์จากเศษวัสดุธรรมชาติ
     3. เมื่อทดลองครบ ก็ทำการทดสอบหลังกิจกรรมโดยใช้ชุดเดียวกับก่อนทดสอบ
     4. นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ
                    สุปผลการวิจัย
     ➯ เด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น  เช่น  การนับ การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ
     ➯ เด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น 59.33 ของความสามารถเดิม



                    คนสุดท้ายคือ นางสาวบงกชกมล  ยังโยมร นำเสนอตัวอย่างการสอนรายการครูมืออาชีพ Making math real เลขหมุนรอบตัวเรา ของประเทศอังกฤษ เป็นการสอนเด็กแบบการคิดล่วงหน้าเสมอ การสอนขะเน้นสัญลักษณ์ ทั้งทางกายและทางภาษา เรียกอีกอย่างคือ ภาษากาย ภาษาพูด การที่เราทำให้เด็กเรียนคณิตศาสตร์ได้เข้าใจนั้น จะทำให้เด็กรักวิชาคณิตศาสตร์

               กิจกรรมที่ 2 
                    อาจารย์ให้ดูรูปภาพหน้าปกหนังสือว่ามีอะไรที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์บ้าง
หนังสือที่มีตัวเลข ที่ทุกคนมองเห็นก็มีดังต่อไปนี้ ➯ตัวเลข จำนวนนับ เด็กในภาพมีกี่คน รูปร่าง พื้นที่ จำนวนแขน ขา ขนาดตัวเลขที่ต่างกัน ค่ามากกว่า น้อยกว่า เป็นต้น


               กิจกรรมที่ 3
                 สอนเนื้อหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเดิม
                     🎯ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
                                ประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ
                                 1. การนับ (Counting)

                                 2. ตัวเลข (Number)
                                 3. การจับคู่ (Matching)
                                 4. การจัดประเภท (Classification)
                                 5. การเปรียบเทียบ (Comparing)
                                 6. การจัดลำดับ (Ordering)
                                 7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space)
                                 8. การวัด (Measurement)
                                 9. เซต (Set)
                                 10. เศษส่วน (Fraction)
                                 11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
                                 12. การอนุรักษ์ หรือ การคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)


                      🎯 หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                                  1. เด็กเรียนจากประสบกาณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากการสอนแบบรูปธรรม คือ 
                                       ⭐ ขั้นใช้ของจริง
                                       ⭐ ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง
                                       ⭐ ขั้นกึ่งรูปภาพ
                                       ⭐ ขั้นนามธรรม
                                  2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปหายาก
                                  3. สร้างความเข้าใจและความรู้ความหมายมากกว่าการจำ
                                  4. ให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
                                  5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย
                                  6. จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก แล้วสรุปกฎเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย
                                  7. จัดกิจกรรมทบทวนโดยตั้งคำถามให้ตอบปากเปล่าหรือสร้างเรื่องราวให้คิดซ้ำ ส่งเสริมให้เด็กคิดปัญหาและหาเหตุผล ข้อเท็จจริง


          ทักษะที่ได้รับ
                    การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การสอนเด็กต้องมีลำดับขั้นตอนและมีแบบแผน  การสอนเด็กแต่ละคนควรใส่ใจและควรคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กเป็นสำคัญ


          การนำมาประยุกต์ใช้
                    การนำทักษะกระบานการคิดไปประกอบการเรียนการสอนในอนาคตเมื่อเจอเหตุการณ์ต่างๆ

          บรรยากาศในห้องเรียน
                    เป็นไปอย่าฃสนุกสนาน และเพื่อน ๆ ทุกคนตั้งใจฟังและช่วยกันตอบคำถาม

          ประเมินวิธีการสอน
                    อาจารย์จินตนาจริงจังกับการสอนมากและอยากให้นักศึกษาเข้าใจและตอบได้ จึงพยายามให้นักศึกษาตอบคำถามเพื่อเป็นการทบทวนความเข้าใจ

          คุณธรรมจริยธรรม
                การตรงต่อเวลา
                การตั้งใจฟัง
                ความรับผิดชอบ






วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

สรุปผลงานการวิจัย

สรุปวิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร



สรุปวิจัย
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร

ชื่อวิทยานิพนธ์ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
ผู้วิจัย นางศุภนันท์ พลายแดง

สาขา การศึกษาปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

วิธีดำเนินการวิจัย
โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี
ที่กา ลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปี ที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 ของโรงเรียนมิตรภาพ
ที่ 34 อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จา นวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกจากเด็กที่มี
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่างจากแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร จำนวน 18 แผน
2. แบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ


แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้ อาหารดีมีประโยชน์ เรื่องผัดผักรวมมิตร

สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 1 สอนวัน จันทร์ ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 30 นาที
สาระสาคัญ
ผักและผลไม้ ถือเป็นอาหารที่มีประโยชน์โดยให้ทั้งวิตามินและแร่ธาตแก่ร่างกาย
 และถือเป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ที่ร่างกายต้องการ ผักและผลไม้แต่ละชนิดมีประโยชน์
ที่แตกต่างกันและมีลักษณะ รูปทรง สี ที่แตกต่างกันด้วย ทั้งนี้จึงสามารถนาผักและผลไม้
มาจัดกิจกรรมประกอบอาหารเพื่อเพิ่มความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเปรียบเทียบ
ให้แก่เด็ก และจะพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของผักและผลไม้ได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้
- การปฏิบัติตนในการประกอบอาหาร
2. กิจกรรมสำคัญ
- การประกอบอาหารและการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
เนื้อหา
1. ประโยชน์ของผัก ความแตกต่างของผักแต่ละชนิด เช่น รูปร่าง ขนาด และสี
2. ข้อตกลงการทา ผัดผักรวมมิตร
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูนำตะกร้าใส่ผักและผลไม้หลายชนิดที่มีความแตกต่างกันทั้งสีรูปทรงและขนาด
มาให้เด็กดู พร้อมทั้งให้เด็กออกมาเข้าแถวดูกันอย่างเป็นระเบียบ ครูถามเด็กว่ารู้จักผักอะไรบ้าง
 ผักชนิดไหนมีขนาดใหญ่ที่สุด และเล็กที่สุด ผักชนิดใดมีรูปทรงกลมคล้ายลุกบอล เช่น กะหล่ำปลี
(ทั้งผล) มะเขือเทศ ข้าวโพดอ่อน ถั่วลันเตา คะน้า ส้ม ชมพู่ แตงโม เป็นต้น
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสีและรูปทรง
2.1 เด็ก ๆ คิดว่าผักและผลไม้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง และบอกว่าวันนี้เราจะทำอาหารจากผักเหล่านี้
2.2 ครูหยิบผักแต่ละชนิดมาโดยถามเด็กว่าส่วนนี้ของผักเรียกว่าอะไร เด็กช่วยกันบอก
เช่น ใบ ก้าน ว่าเราสามารถนำ ผักเหล่านี้มาทำอะไรได้บ้าง ครูพูดพร้อมบอกว่าเราสามารถนำมาทำ
 อาหารต่าง ๆ มากมายจากผัก เช่น แกงส้ม สลัด ผักชุบแป้งทอด ครูถามเด็กว่าใครชอบทานผักบ้าง
ครูกล่าวชื่นชมเด็กที่ยกมือ และบอกว่าร่างกายจะแข็งแรง
3. ครูนำวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ แนะนา ให้เด็ก ๆ รู้จักชื่อและวิธีใช้ เช่น(มีดเอาไว้ปอกใช้คู่
กับเขียง เอาไว้หั่นผักและหมู) (กะทะ ใช้คู่กับตะหลิวเอาไว้ผัด) (หม้อ ใช้คู่กับทัพพี เอาไว้ต้มหรือแกง)
 เตาแก๊ส ถังแก๊ส ส่วนผสมต่างๆ
4. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรมประกอบอาหารจากผัก
 ชื่ออาหารคือ ผัดผักรวมมิตร เช่นข้อตกลงมีดังนี้
4.1 เด็ก ๆ ต้องรอรับอุปกรณ์ที่ครูแจกให้อย่างอดทน และมีระเบียบ
4.2 ไม่พูดคุย เสียงดัง ระหว่างปฏิบัติกิจกรรม
4.3 ไม่ทำอุปกรณ์ เสียหาย และหลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จต้องช่วยกันเก็บอุปกรณ์
4.4 ต้องเคารพกฎในการทำอาหาร โดยทำอย่างระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
ขั้นดำเนินการ
1. เด็ก ๆ เข้าแถวรับอุปกรณ์ ส่วนผสม การทำผัดผักรวมมิตรจากครู
2. ครูแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 7-8 คน ครูอธิบายพร้อมกับสาธิตการทำให้กับ กลุ่มที่ 1 ดูก่อน
 โดยให้เด็กๆ สัมผัสว่าผักชนิดไหนที่แข็งกว่า จะต้องนำลงกะทะเพื่อผัดก่อนเสมอ เพราะจะสุกยากกว่า
 หลังจากนั้นครูก็ไปกลุ่มที่ 2 โดยครูผลัดไปดูระหว่างกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 พร้อมกำชับ
เรื่องการเกิดอุบัติเหตุเพราะต้องเปิดแก๊สระหว่าง  การประกอบอาหารเมื่อเสร็จแล้วครูตักใส่จาน 2 จาน
ให้เด็ก ๆ ช่วยกันบอกว่าจานที่ 1 มากหรือน้อยกว่าจานที่ 2 ครูให้เด็กชิม ผักแต่ละคำว่าผักชนิดไหน
มีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม และชนิดไหนค่อนข้างแข็ง ครูชื่นชมผลงานเด็กว่ามีรสชาติดี
3. หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ เด็ก ๆ ร่วมกันเก็บอุปกรณ์ และร่วมกันทำความสะอาดบริเวณที่ทำกิจกรรม

ขั้นสรุป
1. ครูและเด็กร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของผัก
2. ครูกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเด็กที่สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างดี

สื่อการเรียนรู้
1. ผักชนิดต่าง ๆ เช่น แครอท ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี  ฯลฯ
2. อุปกรณ์และส่วนผสมในการทา ผัดผักรวมมิตร
3. ภาพอาหารต่าง ๆ ที่ทำมาจากผัก

การวัดและการประเมินผล
1. วิธีการวัด / สิ่งที่วัด
สังเกตจากการสนทนา และการตอบคำถาม
2. เกณฑ์การวัดผล
เกณฑ์การให้คะแนน มีดังนี้
ระดับคะแนน 1 หมายถึง เด็กสามารถตอบคำถามได้
0 หมายถึง เด็กไม่สามารถตอบคำถามได้



แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้ อาหารดีมีประโยชน์ เรื่อง ผักชุบแป้งทอด
สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 2 สอนวัน พุธ ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 30 นาที
สาระสำคัญ
การให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงจากการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารจะทำให้เด็ก
เกิดพัฒนาการด้านปัญญา และมีทักษะทางคณิตศาสตร์ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารในครั้งนี้หยิบยกนาเอาผักนานาชนิดที่มี รูปทรงและสีสันแตกต่างกัน
เพื่อสนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก เกิดการสังเกตและจดจำ ลักษณะรวมทั้งสามารถ
จับคู่ผักที่มีลักษณะหรือสีที่คล้ายคลึงกันได้ซึ่งจะช่วยพัฒนาพักษะพื้นฐานให้แก่เด็กได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เด็กสามารถจับคู่ผักที่มีรูปทรงคล้ายกันได้
สาระการเรียนรู้
- การปฏิบัติตนในการประกอบอาหาร
- การประกอบอาหาร และการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
เนื้อหา
1. ทักษะทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการจับคู่
2. ขั้นตอนการประกอบอาหารผักชุบแป้งทอด
ขั้นตอนการดาเนินการ
ขั้นนำ
1. ครูนำบัตรคำ และภาพผักต่าง ๆ มาให้เด็ก ๆ ดูและนำภาพเงาของผักชนิดนั้นให้เด็กเด็กจับคู่
 จากนั้นโยงเข้าสู่กิจกรรมการทำผัดผักรวมมิตร
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับข้อตกลงร่วมกันที่ได้ตกลงกันไว้เมื่อกิจกรรมที่แล้ว
 จากนั้นใช้คำถามดังนี้
2.1 เด็ก ๆ คิดว่าผักแต่ละชนิดแตกต่างกันตรงไหนบ้าง เช่น สี ขนาด รูปร่าง  กลิ่น
2.2 ครูนำผักที่หั่นแล้วแจกให้เด็กแต่ละคน คนละชนิด จากนั้นครูให้เด็กแต่ละคนหาคู่เพื่อนที่ได้
ผักชนิดเดียวกัน คู่ไหนหาได้ให้นั่งลง จากนั้นครูกล่าวชื่นชม 3 คู่แรกที่เป็นผู้ชนะ
3. ครูโยงเข้าสู่กิจกรรมการประกอบอาหารผักชุบแป้งทอด โดยอธิบายพร้อมสาธิตวิธีการทำ
พร้อมนำวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำให้เด็ก ๆ ได้รู้จัก
4. ครูและเด็กร่วมกันทบทวนข้อตกลงร่วมกันในเรื่องการปฏิบัติตนในการร่วมกันทำกิจกรรม
ประกอบการทำถั่วฝักยาวชุบแป้งทอด ดังนี้
4.1 เด็กต้องรู้จักอดทนรอคอย และมีระเบียบในการรอรับวัสดุอุปกรณ์
4.2 ไม่พูดคุยเสียงดัง ไม่เล่นซุกซน ในระหว่างการทำกิจกรรม
4.3 ในระหว่างทำกิจกรรมต้องไม่เล่น
ขั้นดำเนินการ
1. เด็กเข้าแถว รอรับอุปกรณ์โดยครูแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 7-8 คน แยกกันไปทำโดยครู
จะผลัดไปดูเด็ก ๆ และคอยดูอย่างใกล้ชิด
2. หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ เด็ก ๆ ร่วมกันเก็บอุปกรณ์ลงในที่กำหนดไว้ และร่วมกัน
ทำความสะอาดบริเวณที่ทำกิจกรรม และร่วมกันชิม พร้อมทั้งบอกเด็กว่าผักที่เด็กๆบางคนไม่ชอบ
แต่เมื่อนำมาชุบแป้ ง ก็จะอร่อยน่าทาน ให้เด็กๆ นำไปบอกผู้ปกครองให้ทำทานกันที่บ้าน ร่างกายจะ
ได้แข็งแรง
ขั้นสรุป
1. ครูและเด็กร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ ของผักชุบแป้ งทอด
2. ครูกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเด็ก
สื่อการเรียนรู้
1. บัตรคำ
2. ภาพอาหาร ถาพเงาของผักชนิดต่างๆ
3. อุปกรณ์ในการทำผักชุบแป้งทอด
การวัดและการประเมินผล
1. วิธีการวัด / สิ่งที่วัด
1.1 การตอบคำถาม
2. เกณฑ์การวัดผล
1 หมายถึง เด็กสามารถตอบคำถามได้
0 หมายถึง เด็กไม่สามารถตอบคำถามได้



แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้ อาหารดีมีประโยชน์ เรื่อง ส้มตาผลไม้
สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 3 สอนวัน ศุกร์ ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 30 นาที
สาระสาคัญ
ส้มตำ เป็นอาหารที่แสดงถึงวัฒนธรรมพื้นบ้านทางภาคอีสานได้รับความนิยมจากนานาประเทศ
ในเรื่องของรสชาติ และคุณประโยชน์ อีกทั้งวิธีการปรุงก็เรียบง่ายเหมาะสาหรับการนำมา
จัดกิจกรรมการประกอบอาหารให้แก่เด็ก เพราะมีวัตถุดิบที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็ก
ได้รับการฝึกในเรื่องของการจับคู่และจำแนกสิ่งต่าง ๆ ตามรูปร่าง ขนาด การบอกตาแหน่งของสิ่งของ
 การเรียบเทียบขนาด รูปร่าง น้ำหนัก ความยาวและส่วนสูงก่อนที่จะเรียนคณิตศาสตร์ในชั้นประถมต่อไป
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เด็กสามารถจับคู่สิ่งของที่มีรูปทรงคล้ายกันได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้
- การปฏิบัติตนในการประกอบอาหาร
2. กิจกรรมสำคัญ
- การประกอบอาหาร และการทา กิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
เนื้อหา
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เรื่องการจับคู่
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูนำผลไม้ต่างๆ ใส่ตะกร้ามาให้เด็กดู เช่น แอปเปิ้ล มะละกอ ฝรั่ง สาลี่ ครูให้เด็กเข้าแถวออกมาดู
 และสัมผัสอย่างเป็นระเบียบ พร้อมกับถามว่าใครรู้บ้างว่ามีผลไม้ อะไรบ้างอยู่ในตะกร้า
 เด็ก ๆ ช่วยกันตอบ พร้อมกับให้ตัวแทนออกมาจัดผลไม้ให้อยู่ในกลุ่มพวกเดียวกัน
เช่น แอปเปิ้ลคู่กับแอปเปิ้ล สาลี่คู่กับสาลี่ และจับคู่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามที่ครูบอก
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์และรสชาติของผลไม้ โดยใช้คาถาม
ดังนี้

2.1 เด็ก ๆ คิดว่าผลไม้มีประโยชน์และผลไม้แต่ละชนิดมีรสชาติอย่างไร ครูให้เด็กชิมผลไม้ชนิดต่างๆ
 ที่หั่นเตรียมนามา
2.2 ผลไม้สามารถนามาประกอบอาหารได้หรือไม่ และทา อะไรได้บ้างครูนำภาพมาประกอบคำอธิบาย
3. ครูโยงเข้าสู่กิจกรรมการประกอบอาหารส้มตาผลไม้ โดยครูอธิบายพร้อมสาธิต
วิธีการทำพร้อมนำวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ทำให้เด็ก ๆ ดูและสัมผัสทั่วกัน
4. ครูและเด็กร่วมกันทบทวนข้อตกลงร่วมกันในเรื่องการปฏิบัติตนในการทำกิจกรรมประกอบอาหารส้มตำ
 ผลไม้ ดังนี้
4.1 เด็ก ๆ ต้องรู้จักอดทนรอคอย และมีระเบียบวินัย
4.2 ไม่พูดคุยเสียงดัง ในระหว่างทำกิจกรรม
4.3 ไม่ทำวัสดุ อุปกรณ์ เสียหาย และหลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จต้องช่วยกันเก็บ
4.4 ต้องเคารพกฏกติกาในการประกอบอาหารโดยทำอย่างระวัง
ขั้นดำเนินการ
1. แบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 7-8 คน แล้วเข้าแถวรอรับอุปกรณ์ ส่วนผสมการทำส้มตำผลไม้
 โดยครูคอยแนะนา อย่างใกล้ชิด ครูบอกให้ตัวแทนกลุ่มแต่ละกลุ่มหยิบส่วนผสม ตามจำนวน
ที่สั่ง เมื่ออีกลุ่มหยิบสิ่งใดขั้นมา ให้อีกกลุ่มหาและหยิบขั้นมาเช่นเดียวกัน พร้อมร่วมกันออกเสียง
นับจำนวนพร้อมๆกัน เริ่มด้วย กระเทียม ถั่วฝักยาว มะละกอ มะเขือเทศ ใส่น้า ตาลปี๊บ น้ำปลา
  มะนาว คลุกเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่จาน
2. หลังทำกิจกรรมเสร็จเด็กร่วมกันเก็บอุปกรณ์ในที่กำหนดไว้ และร่วมกันทำความสะอาด
 บริเวณที่ทำ กิจกรรม
ขั้นสรุป
1. ครู และเด็กร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของผลไม้
2. ครูกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเด็กแต่ละคน
สื่อการเรียนรู้
1. ผลไม้ชนิดต่าง ๆ
2. วัสดุ อุปกรณ์ และส่วนผสมในการทำส้มตำผลไม้
การวัดและการประเมินผล
1. วิธีการวัด / สิ่งที่วัด
1.1 การตอบคำถาม
1.2 แบบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ ระหว่างปฏิบัติกิจกรรมการประกอบอาหาร

2. เกณฑ์การวัดผล
1 หมายถึง เด็กสามารถตอบคำถามได้
0 หมายถึง เด็กไม่สามารถตอบคำถามได้

วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 5

   วันที่ 9 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2561  เวลา 08:30 - 12:30 น.
         
          เนื้อหาที่เรียน 
                    กิจกรรมที่ 1
                          การนำเสนอบทความ  วิจัย  และตัวอย่างการสอน ตามลำดับเลขที่คนแรกที่ออกไปนำเสนอ คือ นางสาวสุภาวดี  ปานสุวรรณ นำเสนอบทความเรื่อง ... คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเด็กเรียนรู้ผ่านการสัมผัส และต้องได้ลงมือกระทำ  การจัดการเรียนรู้เน้นคณิตศาสตร์ธรรมชาติเป็นหลัก  ข้อเสนอแนะของอาจารย์จินตนา  ควรมีการนำเสนอที่พร้อมมากกว่านี้ทั้งการพูดและมีข้อมูลให้เพื่อนๆดู เช่นพาเวอร์พอยท์ หรือรูปแบบอื่นๆมาสนับสนุนต่างๆเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากกว่านี้




                         คนที่ 2 นางสาววิภาพร  จิตอาคะ
 นำเสนอวิจัยเรื่อง ... การพัฒนาพื้นฐานทางคณิตศาตร์
การเล่นซ่อนหา เด็กได้พัฒนาการนับ ได้หลายรูปแบบ
เด็กได้ฝึกบทบาทสมมติทักษะการคิดและก็ได้การบอกตำแหน่ง บน ล่าง เด็กจะมีความสุขและชอบการกิจกรรมที่จัด  ข้อเสนอแนะจากอาจารย์  ควรมีแผนการจัดประสบการณ์ แผนการจัดกิจกรรม  และแผนการจัดการเรียนการสอน



                          คนที่ 3 นางสาวอุไรพร  พวกดี
 นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่อง ... เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์  
ครูจอยได้นำเทคนิคมาเล่าสู่กันฟังในรายการ talk about  kids เกี่ยวกับการจำสีได้ของเด็กเป็นของเล่นที่เข้ามาช่วยเสริมพัฒนาการเด็ก ข้อเสนอแนะจากอาจารย์  รายการที่ยกมาเป็นรายการที่แนะนำของเล่นที่เสริมพัฒนาการเด็ก หลังจากนั้น อาจารย์ได้เปิดหาตัวอย่างการสอนที่ถูกต้องให้ดูและแนะนำการหาตัวิย่างการสอน



                   กิจกรรมที่ 2
                     
 การจับแบบ 1 ต่อ 1 โดยอาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น กระดาษเหลือ 5 แผ่น แสดงว่าจำนวนกระดาษมากกว่าจำนวนคน จึงสามารถเขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ดังนี้

     กระดาษมากกว่าคนอยู่ห้า
     กระดาษ > คน = 5
     กระดาษ > 17 = 5
           22   > 17 = 5
               กิจกรรมที่ 3                    
การสำรวจความชอบอาหารอีสานระหว่างส้มตำกับลาบไก่ โดยอาจารย์ให้นักศึกษาในห้องออกมาใส่เครื่องหมายตามฝั่งอาหารที่ชอบ โดยการจับคู่แบบ 1 : 1 เป็นการเปรียบเทียบเรื่องจำนวนมากกว่าน้อยกว่า
ผลสรุปคือ คนที่ชอบส้มตำมีจำนวนมากกว่าลาบไก่



                 กิจกรรมที่ 4
                     ให้เขียนตอบคำถาม
เราใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เพื่อการเปรียเทียบในการตัดสินใจ



                   กิจกรรมที่ 5
                        ให้ฟังจังหวะดนตรี ละทำท่าทางประกอบ  เพื่อกำหนดจังหวะของตัวเอง และให้เขียนสัญลักษณ์กำกับจังหวะดนตรีของตัวเอง เช่น  🔺➤🔺➤🔺➤🔺➤  เป็นต้น
หลังจากนั้น ก็นำไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆแล้วให้เพื่อนเติมสัญลักษณ์ตามที่เราเว้นไว้ว่าถูกต้องหรือไม่


              ทักษะที่ได้รับ
               การคิดคณิตศาสตร์แต่ละเรื่องต้องมีคอนเซปเพื่อให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้นและสนุกกับคณิตศาสตร์มากกว่าการท่องจำเช่นเดียวกับทฤษฏีของเปสตาลอซซีี่
            
             การนำมาประยุกต์ใช้ 
               การนำทักษะการคิดเป็น concept  มาใช้กับการสอนเด็กอนุบาลได้ในอนาคต
              การคิดวิเคราะห์ควรให้มีความรอบครอบมากกว่านี้เพราะควรคำนึงถึงเด็ก

              บรรยากาศในห้องเรียน
                เพื่อนๆ ต่างสนุกสนาน ตื่นเเต้นกับการตอบคำถามและพูดในห้องเรียน และช่วยกันตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกที่สุด 

               ประเมินวิธีการสอน
               อาจารย์จินตนาสอนเรื่องคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันและเปิดโอกาสให้นักศึกษาลงมือทำและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ เพราะนักศึกษาแต่ละคนจะมีความคิดที่แตกต่างกัน

                คุณธรรมจริยธรรม
            ตรงต่อเวลา 
            ยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน
            การไม่เล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน

  

         ภาพกิจกรรม