วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 12


วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น. 

          เนื้อหาที่เรียน

              กิจกรรมที่ 1
               นำเสนอวิจัย บทความ และตัวอย่างการสอน


          คนแรก นางสาวสิริวดี   นุเรศรัมย์  นำเสนอบทควมเรื่อง  สอนคณิตจากชีวิตครอบครัว (www.familyweekend.co.th)  ของ ปวีณา  วิจิตรพร
1.สอนเรื่องตัวเลข (เรื่องของจำนวน) อายุ/น้ำหนัก
2.สอนเรื่องขนาด/ปริมาณ/น้ำหนัก/หมวดหมู่
3.รูปทรงต่างๆ
4.ตำแหน่งซ้าย - ขวา
5.กลางวัน - กลางคืน
6.วัน/เดือน/ปี
7.การเพิ่ม - ลด
8.การใช้เงิน


 

          คนต่อมา นางสาวสุพรรณิการ์  สุขเจริญ   นำเสนอบทความเรื่อง  สอนลูกเรื่องจำนวน การนับ และตัวเลข
1.จัดบรรยากาศของบ้าน ตัวเลข นาฬิกา
2.เล่นนับอวัยวะในร่างกาย
3.การเล่านิทานที่มีตัวเลข



          คนที่สาม นางสาวสุภาภรณ์  วัดจัง  นำเสนอวิจัยเรื่อง  วิธีการสอนแบบไฮสโคป
Plan  →  Do  →  Review

               กิจกรรมที่ 2
                สื่อคณิตจากแผงไข่  
ให้นักศึกษาจับคู่และคิดว่าแผงไข่ที่ได้มานั่นควรทำสื่อแบบไหนออกมาให้เข้ากับคณิตศาสตร์




          จากการร่วมกันคิด และได้นำเสนอความคิดให้อาจารย์จินตนาได้ฟัง ผลที่ออกมาคือ แผงไข่ที่จะนำมาทำเป็นสื่อ เป็นคล้ายๆกับเกมตกปลา แต่เราจะเพิ่มคือ การใส่ตัวเลขไว้ที่ปลา หลังจากที่ตกได้ให้เปิดดูตัวเลขและให้ดูที่แผ่นบิงโกของตัวเองว่ามีเลขเหมือนกับที่ตกมาหรือไม่  ถ้ามีให้นำปลามาวางแต่ถ้าไม่มีไม่ต้องวางและเอาปลาออก สลับกันตกกับฝ่ายตรงข้าม ใครวางครบก่อน ถือว่าเป็นผู้ชนะ

          ทักษะที่ได้รับ
               - การวางแผน
               - การทำงานร่วมกับผู้อื่น
               - การคิดสื่อที่เล่นได้หลายอย่าง
               - การช่วยกันทำงาน

          การนำมาประยุกต์ใช้
               - การวางแผน เป็นพื้นฐานในการทำทุกอย่าง
               - การคิด ช่วยกันออกความคิดเห็น เป็นการฝึกการฟัง และการยอมรับความคิดของผู้อื่น
            
          บรรยากาศในห้องเรียน
                วันนี้เพื่อนๆ ตั้งใจฟัง พอได้รับมอบหมายงานที่ช่วยกันคิดเริื่องสื่อจากแผงไข่ ก็ตั้งใจ และมีความพยายามในการคิดที่แปลก แต่ยังคงคอนเซป เรียบ ง่าย ประหยัด

          ประเมินวิธีการสอน
                การออกความคิดเห็น เป็นการแชร์ความคิดของเพื่อนที่เราต้องทำงานด้วยกัน ได้เรียนรู้เรื่องการสื่อสาร การทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกความเป็นผู้นำ และผู้ตาม การวางแผน การทำงานร่วมกัน เป็นการฝึกความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เพราะในอนาคตเราต้องกับงานกับผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม



วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 11


วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2561


          เนื้อหาที่เรียน
               กิจกรมมที่ 1


คนที่ 1 นางสาวณัฐธิดา  ธรรมแท้  นำเสนอ ตัวอย่างการสอน เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนรู้เรื่องจำนวนมากกว่า น้อยกว่า 

เนื้อหา ให้เด็กได้นับจำนวนสิ่งของจริงๆ เช่น หลอด ไม้ไอศครีม เมื่อเด็กรู้จำนวนแล้วให้เด็กนำเลขไปวาง เพื่อให้เด็กรู้ค่าและสามารถเชื่อมโยงได้ระหว่างจำนวนกับตัวเลข หลังจากนั้นเด็กก็จะรู้ค่าจำนวนว่าสองจำนวนไหนมีค่ามากกว่ากัน  เด็กนับเลขด้วยปากเปล่าได้แต่ไม่รู้ค่าจำนวนว่ามีค่าเท่าได การให้เด็กได้นับจากของจริงจึงทำให้เด็กเข้าใจง่ายกว่า เห็นอย่างไรเด็กก็บอกอย่างนั้น เด็กจะเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม


คนที่ 2 นางสาวปวีณา    พันธ์กุล  นำเสนอบทความเรื่อง วิธีเรียนคณิตศาสตร์ในครัวกับคุณแม่

เนื้อหา  การทำอาหารร่วมกัน เด็กได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติด้วยตนเอง โดยมีการพัฒาเด็กแบบองค์รวม

มี 4 ด้าน   1. ด้านร่างกาย              ⇒  เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก หยิบ ตัก สิ่งต่างๆ
             2. ด้านอารมณ์ - จิตใจ     ⇒  เด็กมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ ทำให้จิตใจเบิกบาน สนุกสนานเกิดความภาคภูมิใจที่ได้ทำ
             3. ด้านสังคม                ⇒  เด็กได้เรียนรู้ร่วมกับคนรอบข้าง คือคนในครอบครัว 
             4. ด้านสติปัญญา           ⇒  เด็กได้คิดตาม จินตนาการ และเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการทำ
เครื่องมือที่ใช้เป็นทางการ  →   เครื่องชั่ง  ตวง วัด ปริมาณต่างๆ 



คนที่ 3   นางสาวณัฐชา   บุญทอง   ได้นำเสนอบทความเรื่อง เลขคณิตคิดสนุกแนะพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบ้าน
เนื้อหา  เคล็ดลับตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถแนะนำพ่อแม่สอนลูกๆได้
  การเล่นเกมก็มักมีกลยุทธที่ช่วยให้ชนะได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เด็กจะยังไม่รู้ในตอนแรก และผู้ปกครองเองก็ไม่ควรบอก แต่ปล่อยให้เด็กค่อยๆ เรียนรู้ด้วยตัวเอง 


          กิจกรรมที่ 2
               การนับลูกบอล (การคาดคะเน)  จำนวนลูกบอลทั้งหมด 42 ลูก


💙 การแยกออกจากกัน  อยู่ในกรอบคณิตศาสตร์มาตรฐานที่ 1 การนับจำนวนและการดำเนินการ
💙 การนับใส่กล่องพร้อมกัน ให้รู้จำนวนลูกบอลว่ามีเท่ากัน
💙 การคาดคะเนว่ามันน่าจะมีอยู่กี่ลูก กี่ผล กี่อัน แล้วนำมานับให้เด็กรู้จำนวน และใช้สัญลักษณ์กำกับเป็นตัวเลขฮินดูอารบิก
💙 การแยกออกจากกลุ่มใหญ่ให้แยกสีที่นับนั้นออกมาวางข้างหน้าให้เห็นชัดๆ 
 มีสีเหลือ 5 ลูก แล้วนับสีที่เหลือมี 15  ลูก
💙 การจับคู่สีเหลืองกับที่ไม่ใช่สีเหลือง เมื่อนับลงกล่องสีเเหลืองหมดแสดงว่าสีอื่นๆมีมากกว่า



อาจารย์แจกลูกบอลคนละลูกแล้วให้คิดกิจกรรมว่าทำอะไรได้บ้าง
       - คาดคะเน
       - ความน่าจะเป็น
       - วัดระยะจากคืบ หรือศอก
       - การเล่นอนุกรม


          กิจกรรมที่ 3  
             การสร้างรูปภาพสัมพันธ์ ให้ออกมาหยิบส่วนที่ตัดออกไปมาต่อกับ แบบที่ตัดให้ถูกต้อง
ต่อมาเป็นการวาดตาราง 10 ช่อง ให้ครบทุกด้านแล้วแรเงา ภาพสี่เหลี่ยมให้ได้รูปทรงต่างๆตามต้องการ





     ทักษะที่ได้รับ 
            การนำไปใช้ในการสอนได้จริง
            การคิดสร้างสรรค์และการลงมือทำ
            การสอนคณิตศาสตร์ต้องมีกรอบแบบแผนตามที่กำหนดไว้อย่างถูกต้องตรงกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย

    การนำมาประยุกต์ใช้ 
            นำมาใช้ในการคิดและจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

    บรรยากาศในห้องเรียน
           เพื่อนๆตั้งใจกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย และเพื่อนทุกครต่างให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

    ประเมินวิธีการสอน
          เน้นการเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้จริง


วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 10



วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2561     เวลา 08:30 - 12:30 น.


          เนื้อหาที่เรียน
               วันนี้เป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาเมื่อคาบที่ผ่านมา คือเรื่องมาตรฐานคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ อาจารย์ได้อธิบายทวนอีกครั้งเพื่อความเข้าใจและหลังจากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ วิจัย และตัวอย่างการสอน



          คนแรก นางสาวชาณิศา   หุ้ยทั่น  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่  ปริญญานิพนธ์ ของ กมลรัฒน์   กมลสุทธิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาการศึกษาปฐมวัย ปี 2555

ความมุ่งหมาย : เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลักการทดลองสูงกว่าการทดลอง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ : อายุระหว่าง 4-5 ปีซึ่งศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพมหานคร จำนวน 12 คน
สรุปผลการวิจัย : ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิคศาสตร์ ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและรายด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การเรียงลำดับและการนับ





        คนต่อมา นางสาวรัติยากร   ศาลาฤทธิ์  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ   โดย กาญจนา ทับผดุง และ สุภาวิณี  สัตยาภาณ์  
หน่วยแผนการสอนจะเป็นดังนี้ 
1. บ้านน่าอยู่ จำนวน 5 ชั่วโมง
2. สัตว์น่ารู้    จำนวน 5 ชั่วโมง
3. อาชีพที่ควรรู้จัก  จำนวน 5 ชั่วโมง
4. ฤดูกาล     จำนวน 5 ชั่วโมง




       คนต่อมา  นางสาวสุภาภรณ์   วัดจัง  นำเสนอวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคป  



       ตนต่อมา นางสาววิจิตรา   ปาคำ  นำเสนอตัวอย่างการสอนเรื่อง กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวเด็ก โดยครูอัมพรรณี สาลีวรรณ์  เป็นการสอนกิจกรรมหลักทั้ง 6 อย่าง เกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติรอบตัวเด็ก สอดคล้องกับคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับ การเปรียบเทียบ การจำแนก การเรียงลำดับ เป็นต้น




       คนสุดท้าย นางสาวปรางทอง   สุริวงษ์  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร   โดย ศุภนันท์   พลายแดง  วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปี 2553
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ : เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 จำนวน 30 คน
สรุป : การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสามารถส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุก ๆ ด้านให้แก่เด็กปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับ 
เคลฟสเต็ด (Klefstad 1995 : 33 อ้างถึงใน วลัย สาโดด, 2549 : 42) 
ได้กล่าวถึง ประโยชน์ของกิจกรรมประกอบอาหารไว้ว่า ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ด้านการวัด การกะปริมาณ การเปรียบเทียบ
มากกว่า – น้อยกว่า    เต็ม – ว่างเปล่า    และจำนวนนับเนื่องมาจากเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง


เพียเจต์ (piaget, 1896 อ้างถึงใน หรรษา นิลวิเชียร, 2535 : 41 – 42 )
กล่าวว่า การจัดประสบการณ์ตรงโดยให้เด็กมีอิสระในการคิด การแสดงออก จะทำให้เด็กเข้าใจได้เร็วขึ้น

          ทักษะที่ได้รับ
               ความรู้ใหม่ๆที่เพื่อนนำมาพูดในวันนี้ เป็นความรู้ใหม่ที่เราควรจำ และสามารถนำมาใช้ในการสอนได้จริง

          การนำมาประยุกต์ใช้
               - การสอนเด็ก
               - นำมาประยุกต์ใช้ในการสอน / ในชีวิตจริง

          บรรยากาศในห้องเรียน
               วันนี้นักศึกษาติดธุระเรื่อง กนศ. จำนวนมากจึงทำให้ห้องเรียนมีจำนวนคนที่น้อย และบรรยากาศจึงเป็นไปอย่างราบรื่น เงียบมาก

          ประเมินวิธีการสอน
               - การตอบคำถาม 
               - การถามตอบ/รายบุคคล
               - ผลงาน

          คุณธรรมจริยธรรม
               - การตั้งใจเรียน
               - การร่วมมือกันในชั้นเรียน
               - เข้าเรียนตรงเวลา






วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561

การบันทึกครั้งที่ 9


วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2651     เวลา 08:30 - 12:30 น.


          เนื้อหาที่เรียน 
               เรียนเรื่อง สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์   
          สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์เป็นหลักการที่ต้องปลูกฝังให้กับเด็ก ผู้สอนควรศึกษาเกี่ยวกับสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ  ในกรอบมาตรฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย เพื่อให้เข้าใจตรงกัน จึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยไว้ดังนี้

สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ
     การแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตประจำวันในการบอกปริมาณที่ได้จากการนับ การอ่านเขียนตัวเลขฮินดูอารบิคและเลขไทย รวมถึงการแสดงจำนวน การเปรียบเทียบจำนวน การเรียงลำดับจำนวน การรวมกลุ่มของสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลไม้เกิน 10 และแยกย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

สาระที่ 2 การวัด
     การแสดง การเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความบาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลาโดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน การวัดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท  1.ไม่เป็นทางการ     2. กึ่งทางการ     3. เป็นทางการ

สาระที่ 3 เรขาคณิต
     การบอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาทางของสิ่งต่างๆ เช่น ใกล้ - ไกล   หน้า - หลัง   ใน - นอก   บน - ล่าง ทิศทาง การจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนรูปร่างของเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำเกี่ยวกับรูปเรขาคณิตมิติและสองมิติ

สาระที่ 4 พีชคณิต
     การจัดกิจกรรมแบบรูปและความสัมพันธ์แบบรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
     การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
     ได้แก่ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาตร์  และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
     

          ทักษะที่ได้รับ
              มาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 6 สาระ เป็นพื้นฐานที่เราต้องทราบ เพราะการมีพื้นฐานที่ดีจะส่งผลทำให้เราเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้น


          การนำมาประยุกต์ใช้
               เนื้อหาที่เรียนส่วนมากจะเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชิวิตประจำวัน สามารถนำมาใช้คิดเลข นับเงิน จ่ายตลาด อื่นๆอีกมากมายได้
          บรรยากาศในห้องเรียน


               วันนี้เรียนแบบสนุกสนาน อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำในห้อง เสร็จแล้วอาจารย์ก็มาแนะนำชี้แนะสาระแต่ละอย่างว่าหมายถึงอะไรบ้าง


          ประเมินวิธีการสอน
                - เน้นให้เด็กลงมือปฏิบัตืจริง คิดสร้างสรรค์งานเอง
               - ชิ้นงาน ใบความรู้
               - การตอบคำถาม


          คุณธรรมจริยธรรม
               - การทำงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จ
               - ความร่วมมือในห้องเรียน


ตัวอย่างกิจกรรมมาตรฐานคณิตศาสตร์ ของปรางทอง
     
เพื่อนทุกคนต่างทำงานที่ได้รับมอบหมาย